การปรับปรุงกระบวนการการจัดการคลังวัตถุดิบ กรณีศึกษา บริษัทผลิตเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
คลังวัตถุดิบ, การจัดการคลังวัตถุดิบ, การปรับปรุงกระบวนการบทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระบบการทำงานของคลังวัตถุดิบ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของคลังวัตถุดิบ และ 3) เพื่อปรับปรุงระบบการจัดการคลังวัตถุดิบโดยใช้พื้นที่คลังวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บวัตถุดิบอย่างคุ้มค่าของบริษัทผลิตเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ การดำเนินงานของบริษัทผลิตเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี ทำการศึกษาระบบการทำงานของคลังวัตถุดิบโดยใช้แผนภูมิกระบวนการไหล ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้การวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหา ใช้ทฤษฎีการลดความสูญเปล่าเพื่อปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน ใช้การวิเคราะห์ความถี่ในการแบ่งกลุ่มวัตถุดิบ จัดทำรอบการนับเพื่อให้ทราบสถานะของวัตถุดิบ วิเคราะห์ระดับความต้องการวัตถุดิบจากค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน การบริหารวัตถุดิบคงคลังโดยใช้ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดและจุดสั่งซื้อที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนและวัตถุดิบขาดมือ การนำโปรแกรม Express เข้ามาช่วยบันทึกข้อมูล และการออกแบบผังคลังวัตถุดิบโดยการแบ่งประเภทของวัตถุดิบ การทำป้ายแถบสีจำแนกประเภทวัตถุดิบและการระบุรหัสวัตถุดิบ
ผลการศึกษา พบว่า ระบบการทำงานของคลังวัตถุดิบ มีพื้นที่ในการจัดเก็บวัตถุดิบจำกัด ไม่มีระบบการจัดการคลังวัตถุดิบ มีการสั่งซื้อวัตถุดิบผิดพลาดโดยการสั่งซื้อซ้ำกับที่ได้สั่งซื้อไปแล้ว และสูญเสียเวลาในการค้นหาวัตถุดิบ ส่งผลต่อความล่าช้าในกระบวนการผลิต และพบว่าการปรับปรุงระบบการจัดการคลังวัตถุดิบและขั้นตอนการทำงานในการเบิกจ่ายวัตถุดิบโดยการเปรียบเทียบเวลาและระยะทางในการทำงานของการเบิกจ่ายวัตถุดิบ จำนวน 30 ครั้ง พบว่าเวลาในการทำงานลดลง 11% ระยะทางในการทำงานลดลง 35% และการออกแบบผังคลังวัตถุดิบใหม่ช่วยให้การหาวัตถุดิบง่ายขึ้น
References
เกียรติศักดิ์ จันทร์แดง. (2549). การบริหารการผลิตและปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: วอตตี้กรุ๊ป.
เจนรตชา แสงจันทร์. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าโดยประยุกต์ใช้วิธีการจัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้งาน กรณีศึกษา บริษัท แห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมการพิมพ์. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย Why Why Analysis. สืบค้นจาก https://www.hrcenter.co.th/file/columns/hr_f_20170512_ 153354.pdf
ธนิต โสรัตน์. (2552). คู่มือการจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า. กรุงเทพฯ: วี-เซิร์ฟ.
เนตรนภา เสียงประเสริฐ. (2558). การวิเคราะห์ปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมสำหรับวัตถุดิบในประเทศ กรณีธุรกิจผลิตยางผสม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
พงษ์สวัสดิ์ เอี่ยมสำอางค์. (2555). การปรับปรุงการจัดการคลังสินค้าสำเร็จรูปในโรงงานผลิตสปริงรถยนต์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนิดา หวานเพ็ชร. (2555). การเพิ่มประสิทธาพการทำงานโดยโดยใช้แนวคิดไคเซ็น : กรณีศึกษา แผนกบัญชี ค่าใช้จ่าย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
พิชญ์ตานันท์ ครุนิอาจ. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าประเภทรถจำลอง กรณีศึกษา บริษัท มาจอเร็ตต์ (ประเทศไทย) จำกัด. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).
เพ็ญพิสิทธิ์ โตแย้ม. (2558). การปรับปรุงผังและกระบวนการทำงานในคลังสินค้าของผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนโรงงานประกอบรถยนต์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
เพียงจันทร์ โกญจนาท. (2560). การออกแบบระบบคลังสินค้าสำหรับลังกระดาษลูกฟูก. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12 (น. 1406-1415). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์, ธิดาพร พลนน, ภัทริยา เศียรอุ่น และ อักษราภัค ละม้ายพันธ์. (2562). การบริหารจัดการสินค้าคงคลังของวัสดุสิ้นเปลือง: กรณีศึกษา โรงงานผลิตอาหารแปรรูป. กรุงเทพฯ: คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วิยดา สังโชติ. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าสำเร็จรูป กรณีศึกษา โรงงานผลิตกระดาษเคลือบซิลิโคน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
อำพรรณ เช้าจันทร์ และ ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (กันยายน-ธันวาคม 2561). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้ากลุ่มบริษัทซัมมิท. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 11(3), 1409-1418.
อนุพงศ์ ผาจันทร์. (2558). โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี Express. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว