ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การตัดสินใจซื้อ, ส่วนประสมทางการตลาด, อุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ, ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 ปี-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชนหรือรับจ้าง มีรายรับเฉลี่ยต่อเดือน 30,001-45,000 บาท และเหตุผลที่ซื้ออุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพราะราคาต่ำกว่าการซื้อผ่านช่องทาง Offline ใช้ช่องทางชำระเงินผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่าน Payment Gateway ผ่านบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟนในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต มีค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าแต่ละครั้งเป็นเงิน 1,001 - 3,000 บาท มีความถี่ในการซื้อทุก ๆ 2 - 3 เดือน โดยมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (x̅ = 4.22) ด้านราคา อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (x̅ = 4.23) ด้านการจัดจำหน่าย อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (x̅ = 4.22) และด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับเห็นด้วย (x̅ = 4.17) และพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายรับ ที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านราคา (β=0.60) ด้านส่งเสริมการตลาด (β=0.352) ด้านผลิตภัณฑ์ (β=0.203) และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (β=0.175)
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2554). ความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นจาก www.dbd.go.th.
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2546). คัมภีร์ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบผู้เชี่ยวชาญ. กรุงเทพฯ: เคทีพีคอมพ์แอนด์คอนซัลท์.
กิติมา สุรสนธิ และ ภริดา โกเชก. (2551). การสื่อสารในชุมชนมุสลิมภาคใต้ ศึกษากรณีพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล, สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ปราณี สุทธิสุคนธ์ และสมชาย วิริภิรมย์กูล. (มกราคม-ธันวาคม 2555). รูปแบบการจัดการดูแลระยะยาวกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงโดยชุมชน. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนา, 8(11), 20-42.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธนาคารกสิกรไทย. (2560). แนวโน้มตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพ โอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการ SME. สืบค้นจาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/HealthyProduct.pdf.
ไตรรัตน์ จารุทัศน์. (2562). เจาะลึก อสังหาสูงวัยแดนปลาดิบ. สืบค้นจาก https://www.terrabkk.com/articles/197110/เจาะลึก-อสังหาสูงวัย-แดนปลาดิบ.
ปรมะ สตะเวทิน. (2546). การสื่อสารมวลชน: กระบวนการและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ.2558. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/knowledge_th_20172404121710_1.pdf.
วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็ก.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ศุภร เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: เอ.อาร์บิซิเนสเพรส.
สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย. (2556). ความรู้เบื้องต้น E-Commerce. สืบค้นจาก http://www.thaiecommerce.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538636758&Ntype=6.
สิริชัย ดีเลิศ และ สุภาวดี รัตนพงศ์พันธ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของกลุ่มผู้บริโภคตลาดเฉพาะกลุ่ม. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 11(1), 2403 - 2424.
สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2543). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ยงพลเทรดดิ้ง.
เสาวลักษณ์ สมานพิทักษ์วงค์. (2559). ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบ อินเทอร์เน็ตของ ผู้บริโภคในเขตจังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7 (480 - 491). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
C. Glenn Walters. (1987). Consumer Behavior: Theory and Practice (3rd ed.). Homewood, Illinois: Richard D. Irwan.
Elena V. Pogorelova, Irina V. Yakhneeva, Anna N. Agafonova and O. Prokubovskaya. (2016). Marketing Mix for E-commerce. International Journal Of Environmental Science Education, 11(14), 6744 - 6759.
Schiffman L.G. & Kanuk L.L. (2010). Consumer Behavior (10th ed.) New York, USA: Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว