การพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายโดยใช้การตลาดดิจิทัลเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
ช่องทางจัดจำหน่ายโดยใช้การตลาดดิจิทัล, ความสามารถในการแข่งขัน, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลท่าขุนรามฯ 2) ศึกษาความต้องการและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนฯ ของลูกค้า และ 3) พัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายโดยใช้การตลาดดิจิทัลเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีดำเนินการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนาแหล่งข้อมูล ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน หรือ ผู้บริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลท่าขุนราม 12 คน ลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ 323 คน และนักวิชาการด้านการตลาดดิจิทัล 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลท่าขุนราม ไม่มีโครงสร้างหรือผู้ปฏิบัติงานด้านการตลาดของกลุ่มฯ โดยตรง ไม่ได้บริหารจัดการการตลาดอย่างเป็นระบบ มีทั้งลูกค้าเก่าที่เคยมีประสบการณ์ในการซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ และมีลูกค้าใหม่สั่งซื้อสินค้าบ้าง ลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์เป็นประจำส่วนใหญ่เป็นลูกค้าภายในชุมชนและภายในจังหวัดกำแพงเพชร มีความต้องการที่จะจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์/อินเทอร์เน็ต 2) ผลการศึกษาความต้องการ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์และความต้องการของผู้ซื้อที่มีต่อการให้ความสำคัญด้านองค์ประกอบเว็บไซต์ของการทำช่องทางการตลาดดิจิทัลที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ พบว่า ลูกค้ามีประสบการณ์การซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ รับรู้ผลิตภัณฑ์จากจากสมาชิกของกลุ่มฯ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับปานกลางทุกปัจจัย และลูกค้าให้ความสำคัญด้านองค์ประกอบเว็บไซต์ของการทำช่องทางการตลาดดิจิทัลที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ ด้านส่วนประกอบที่เป็นเนื้อหาในระดับมากที่สุดและการนำเสนอที่ตรงความต้องการเฉพาะ การติดต่อซื้อขาย ความเป็นชุมชน รูปลักษณ์ การติดต่อ สื่อสารและการเชื่อมโยงผู้ซื้อ ในระดับมาก 3) ช่องทาง จัดจำหน่ายโดยใช้การตลาดดิจิทัลเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร คือ พัฒนาโครงสร้างการปฏิบัติงานการตลาดดิจิทัล การออกแบบช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยสื่อดิจิทัล การส่งเสริมการขายด้วยช่องทางการตลาดดิจิทัล และช่องทางการตลาดดิจิทัลเชิงกิจกรรม
References
จิดาภา ทัดหอม. (2558). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ความไว้วางใจและคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคออนไลน์. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
พรพรรณ ตาลประเสริฐ. (2559). อิทธิพลของการตลาดแบบดิจิทัลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
รัฐพล สังคะสุข, กัลยา นาคลังกา, วิริยาภรณ์ เอกผล และ วรพรรณ สุรัสวดี. (มกราคม - มิถุนายน 2560). การพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิจัยราชภัฏพระนครสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 40 - 54.
สายสุนีย์ จับโจร และ สุดาใจ โล่ห์วนิชชัย. (มกราคม - มิถุนายน 2562). การพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดของผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 14(1), 39 - 50.
อิธิวัฒน์ รัตนพองบู่. (2555). E-Marketing การตลาดอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: วิตตี้กรุ๊ป.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.
Hemann, C., and Burbary, K. (2017). Digital Marketing Analytics: Marketing Sense of Consumer Data in Digital World (2nd ed.). Indiana: Qua Publisher.
Kotler, P. & Keller, K.L. (2016). Marketing Management (15th ed.). New Jersey: Pearson Education.
Kotler, P., H. Kartajaya and Setiawan, I. (2010). Marketing 3.0: From Product to Customers to Human Spirit. Hobokan, New Jersey: John Wiley& Sons.
––––––– . (2017). Marketing 4.0. Hobokan, New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว