ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการสำหรับรีสอร์ทในจังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • มะลิวรรณ ช่องงาม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ภัทราวุฒิ โนรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจต่อส่วนประสมการตลาดบริการ, ประชากรศาสตร์, รีสอร์ท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจต่อส่วนประสมการตลาดบริการสำหรับรีสอร์ทในจังหวัดนครนายก 2) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจต่อส่วนประสมการตลาดบริการสำหรับรีสอร์ทในจังหวัดนครนายก วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยเลือกแบบบังเอิญซึ่งผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมแบบสอบถามจำนวน 400 คน ผ่านทางระบบออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงอนุมาน t-test, one way ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 36-45 ปี มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ 20,001-40,000 บาท ความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการสำหรับรีสอร์ทในจังหวัดนครนายกในภาพรวมรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่ลูกค้าให้ความสำคัญอันดับแรกคือ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาด้านลักษณะทางกายภาพและด้าน พนักงาน เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจส่วนประสมการตลาดบริการสำหรับรีสอร์ทขนาดเล็กในจังหวัดนครนายก พบว่า เพศ ต่างกันไม่มีผลต่อระดับความพึงพอใจต่อส่วนประสมการตลาดบริการสำหรับรีสอร์ทในจังหวัดนครนายก เมื่อจำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา รายได้ พบว่าความพึงพอใจต่อส่วนประสมการตลาดบริการสำหรับรีสอร์ทในจังหวัดนครนายก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ถนอมพงษ์ พานิช และ ศิริพงษ์ เจริญสุข. (2560). กลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจโรงแรมในพระนครศรีอยุธยาหลังผ่านวิกฤตการณ์มหาอุทกภัยน้ำท่วมปี พ.ศ. 2554. วารสารวิชาการ การตลาดและการจัดการ, 4(2), 32-58.

ธนาคารกรุงศรี. (2560). สรุปสถานการณ์ภาคการท่องเที่ยวและภาวะธุรกิจโรงแรม. สืบค้นจากhttps://www.krungsri.com/bank/th/Other/research/industry/industry-outlook.html.

ธีรกิติ นวรัตน์ ณ อยุธยา. (2549). การตลาดบริการ: แนวคิดและกลยุทธ์ (Service Marketing: Concepts and Strategies) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้น.

ยาลานี สาอะ. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกใช้บริการที่พักแรมแบบบูติคของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในย่านเกาะรัตนโกสินทร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

รายงานข้อมูลสถิติทางการด้านเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว. (2563). จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทย. สืบค้นจาก http://nknayok.nso.go.th/images/PDF/02_1.1_Tour_N_Thai_Tourist.pdf

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). การบริหารตลาดยุคใหม่ (ปรับปรุงใหม่ล่าสุด). กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ศุทธิกานต์ คงคล้าย และ ธัญเทพ ยะติวัฒน์. (สิงหาคม 2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 11(ฉบับพิเศษ), 19-32. สืบค้นจาก file:///C:/Users/Maliwan% 20Chongngam/Downloads/75680-Article%20Text-188487-2-10-20170227.pdf

สำนักทะเบียนกลางกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทยจังหวัดนครนายก. (2563). งานทะเบียนจังหวัดนครนายก. สืบค้นจาก https://www.bora.dopa.go.th/index.php/th/contect-part2.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). กลยุทธ์การตลาดยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อิสรา มหายศนันท์. (2554). พฤติกรรมและปัจจัยในการเลือกใช้บริการที่พักแบบโฮมสเตย์ของ นักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดน่าน. (การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

Kotler, P. (2003). Marketing management. New Jersey: Prentice-Hall.

Kotler, P. (2008). Principles of marketing. New Jersey: Pearson.

Walters. (1978). Adaptive Management of Renewable Resources. New York: Mc Graw - Hill.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30