รูปแบบการดำเนินชีวิตและความเชื่อมั่นในตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้รถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ระหว่างแบรนด์ญี่ปุ่นและแบรนด์อิตาลี

ผู้แต่ง

  • ชลิตพงศ์ ตุ้มเลี้ยง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • เนตร์พัณณา ยาวิราช คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการดำเนินชีวิต, จักรยานยนต์บิ๊กไบค์, ความเชื่อมั่นในตราสินค้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตและความเชื่อมั่นในตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้รถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ระหว่างตราสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นและอิตาลี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ผู้ที่เลือกใช้รถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ที่เป็นตราสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นและอิตาลี จำนวน 413 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เลือกใช้รถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ให้ความสำคัญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตด้านรู้สึกถึงความเหมาะสม ด้านความสนุกสนานในชีวิต และด้านสัมพันธภาพอย่างอบอุ่นกับผู้อื่น และพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้รถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ที่เป็นตราสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นและอิตาลี ได้แก่ ความสนุกสนานในชีวิต ความรู้สึกถึงความสำเร็จในชีวิต และความซื่อสัตย์ของตราสินค้า ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรชนก ดิษฐเล็ก. (2558). การตัดสินใจเลือกซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในจังหวัดนนทบุรี. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นจาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/ 123456789/2400/1/kornchanok_ditl.pdf

กรมการขนส่งทางบก. (2559). "บิ๊กไบค์" กับมาตรฐานการขับขี่ที่เพิ่มขึ้น. สืบค้นจาก https://www.dlt.go.th/minisite/m_upload/m_files/lamphun/file_fd06c5dc8097dc5292066ecbac974946.pdf

กรมการขนส่งทางบก. (2564). กรมการขนส่งทางบก ชี้แจงประเด็นกฎกระทรวงเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์ “บิ๊กไบค์”. สืบค้นจาก https://www.dlt.go.th/th/public-news/view.php?_did=2827

กรมการขนส่งทางบก. (2564). ข่าวประชาสัมพันธ์. สืบค้นจาก https://www.dlt.go.th/th/public-news/view.php?_did=2806

กลุ่มสถิติการขนส่ง. (2018). คำนิยามของรถยนต์. สืบค้นจาก https://web.dlt.go.th/statistics/

กลุ่มสถิติการขนส่ง. (2018). รถจดทะเบียนครั้งแรก แยกตามยี่ห้อรถ. สืบค้นจาก https://web.dlt.go.th/statistics/

กนกกาญจน์ จิตรแข็ง. (2561). แรงจูงใจของผู้หญิงวัยทำงานที่มีต่อการเลือกใช้รถจักยานยนต์ขนาดใหญ่. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

นัทชนิดา วัชรินทร์. (2562). รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคหญิงวัยทำงาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ปฐมพงค์ กุกแก้ว และ ภาวินี เมืองโคตร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ของลูกค้าในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 91-102.

พลากร สินอาภา. (2561). การศึกษาพฤติกรรม การตัดสินใจ และรูปแบบการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ (Big bike). (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

พีระโมโตสปอร์ต. (2561). ตรงกับคุณรึเปล่า? บิ๊กไบค์บอกนิสัยไบเกอร์ได้. สืบค้นจาก www.peeramotosports.co.th: https://blogs.peeramotosports.co.th/

ตรงกับคุณรึเปล่า-บิ๊กไบค์บอกนิสัยไบเกอร์ได้

มงคล เอกพันธ์ และ ธนกฤต เตชะวัฒนาพาณิชกุล. (2564). อิทธิพลกลุ่มอ้างอิงที่มีต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ของผู้บริโภคจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(1), 63-74.

มารุต เรียงวรานนท์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถมอเตอร์ไซด์บิ้กไบค์ของคนไทยในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิเทศศึกษา, 9(1), 209-237.

มิติ กิยะแพทย์. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 4(2), 10-21.

ราชศักดิ์ เตชะเกรียงไกร. (2564). แนวทางการพัฒนามาตรการการจัดการความปลอดภัยผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(39), 189-199.

วันพิชิต รันตพิกุล และ พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี. ใน การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12 ปีการศึกษา 2560 (น. 261-273). ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

สืบสกุล ธรรมวงษ์ และ ธนชาติ จันทร์เวโรจน์. (2561). พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจบนสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 7(1), 85-93.

Benelli. (2022). Home. Retrieved from https://www.benelli.com/th-th

BIGBIKE THAILAND. (2021). latest motorcycle list. Retrieved from https://www.bigbike.in.th/motorcycles/new

Boys Culture Lifestyle Tech. (2018). Why do so many people hang out on BigBike?. Retrieved from https://www.dooddot.com/why-people-love-bigbike/

Chaudhuri, A., & Holbrook, M. B. (2001). The Chain of Effects from Brand Trust and Brand Affect to Brand Performance: The Role of Brand Loyalty. Journal of Marketing, 65(2), 81-93.

CheckRaka. (2021). Bigbike. Retrieved from https://www.checkraka.com/ motorcycle/bigbike/

Ducati Motor Holding. (2020). Home. Retrieved from https://www.ducati.com/th/th/home

Gurviez, P., & Korchia, M. (2003). Test of a Consumer-Brand Relationship Model Including Trust and Three Consequences. 30th International Research Seminar in Marketing

(pp. 1-20). La Londe les Maures: Aix-Marseille Université.

Hawkins, D. I., & Mothersbaugh, D. L. (2010). Consumer Behavior: Building Marketing Strategy (11 ed.). New York: McGraw-Hill/Irwin.

Hemetsberger, A., von Wallpach, S., & Bauer, M. (2012). ‘Because I’m Worth It’- Luxury and the Construction of Consumers’ Selves. Advances in consumer research,

, 483-489.

Imran, A., Durrani, M. K., Ishfaq, M., & Ashraf, M. S. (2020). Purchase Intention and Customer Loyalty: Examining Moderating Role of Trust. Ilkogretim Online - Elementary Education Online, 19(3), 2386-2396. doi:10.17051/ilkonline.2020.03.735396

Kahle, L. R., & Kennedy, P. (1988). Using the List of Values (LOV) to Understand Consumers. The Journal of Services Marketing, 2(4), 49-56.

Kawasaki. (2017). Ninja 250. Retrieved from Kawasaki Motors Enterprise (Thailand) Co.,Ltd.: https://www.kawasaki.co.th/en/motorcycle/Ninja250

Kim, J., & Kim, J.-E. (2014). Making Customer Engagement Fun: Customer-Salesperson Interaction in Luxury Fashion Retailing. Journal of Fashion Marketing and Management, 18(2), 133-144. doi:10.1108/JFMM-04-2013-0050

Kumar, N., & Sathish, A. S. (2020). Understanding the Influence of Brand Reputation and Trust on Loyalty: A Mediated Role of Relationship. PalArch's Journal of Archaeology of Egypt/ Egyptology, 17(9), 8441-8457.

Kusá, A., & Čábyová, L. (2020). Effect of Marketing Communication on Customer Preferences and Purchasing Decisions. Journal of Disciplinary Research, 10(1), 150-155.

Lin, C.-T., & Chuang, S.-S. (2018). The Importance of Brand Image on Consumer Purchase Attitude: A Case Study of E-Commerce in Taiwan. Studies in Business and Economics, 13(3), 91-104. doi:10.2478/sbe-2018-0037

Palm PN. (2022). Honda. Retrieved from Best Review Asia: https://bestreview.asia/honda-motorcycles-prices-and-spec/

Rallapalli, K. C., Vitell, S. J., & Szeinbach, S. (2000). Marketers' Norms and Personal Values: An Empirical Study of Marketing Professionals. Journal of Business Ethics, 24(1), 65-75.

Suzuki Motorsales Corporation. (2021). Recommended products. Retrieved from Suzuki Motorsales: https://www.suzukimotosales.co.th/

Thai Yamaha Motor. (2021). Home. Retrieved from Yamaha: https://www.yamaha-motor.co.th/

ThaiHonda. (2021). Our Product. Retrieved from ThaiHonda Co., Ltd: https://www.thaihonda.co.th/hondabigbike/motorcycle

Yazdanifard, R., & Hun, T. K. (2014). The Impact of Proper Marketing Communication Channels on Consumer’s Behavior and Segmentation Consumers. Asian Journal of Business and Management, 2(2), 155-159.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29