การวิเคราะห์สถานที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับเป็นสถานีบรรจุและคัดแยกสินค้านำเข้าและส่งออกเพื่อเป็นการรองรับการเติบโตของการขนส่งท่าเรือระนอง

ผู้แต่ง

  • ชลธิรา จันทร์ศรีราษฎร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ปริญ วีระพงษ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดที่ตั้ง, ที่ตั้งที่เหมาะสม, พื้นที่ศักยภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดที่ตั้งที่เหมาะสมของสถานีบรรจุและคัดแยกสินค้าในพื้นที่ภาคใต้ 2) วิเคราะห์ที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับสถานีบรรจุและคัดแยกสินค้าในพื้นที่ภาคใต้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านคมนาคม การขนส่ง 2 ท่าน ผู้ใช้บริการด้านโลจิสติกส์ 4 ท่าน เพื่อหาลำดับความสำคัญของปัจจัย 17 ปัจจัย และค่าสัดส่วนความสอดคล้องของปัจจัยต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.10 ถือว่ายอมรับได้ โดยกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (AHP) การเพื่อหาที่ตั้ง ที่เหมาะสมของสถานีบรรจุและคัดแยกสินค้าในพื้นที่ภาคใต้ ใช้การวิเคราะห์คะแนนมาตรฐานซี (Z-Score) หาจังหวัดศักยภาพ ส่วนการหาที่ตั้งที่เหมาะสมภายในจังหวัดศักยภาพ เป็นการวิเคราะห์ผ่านระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ของ 14 ปัจจัย โดยวิเคราะห์พื้นที่ที่มีข้อจำกัด (Sieve analysis)
ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์คะแนนมาตรฐานซี (Z-Score) จากข้อมูลดิบ จังหวัด
สุราษฎร์ธานี มีคะแนนสูงสุดจาก 14 จังหวัดของภาคใต้อยู่ที่ 18.14 คะแนน จึงเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพ
ในการจัดตั้งสถานีบรรจุและคัดแยกสินค้ามากที่สุด จากนั้นได้วิเคราะห์หาพื้นที่ที่เหมาะสมโดยตัดพื้นที่ที่มีข้อจำกัดออก แล้วให้โปรแกรม Arcmap วิเคราะห์ข้อมูลของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อหาค่าคะแนนความเหมาะสมของพื้นที่ที่ระดับความเหมาะสมมากที่สุดเท่ากับ 418.20 คะแนน อยู่ในตำบลสมอทอง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี คิดเป็นพื้นที่ 80,381.94 ตร.กม.

References

กรมศุลกากร. (2553). กฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติด่านพรมแดน และด่านศุลกากร. สืบค้นจาก https://is.gd/KAEUpa

กิตติพงษ์ รักษ์เจริญ. (2557). การศึกษาระบบขนส่งและเลือกทําเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้า กรณีศึกษา:ธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าของธุรกิจค้าปลีก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

กลุ่มสถิติวิเคราะห์ สำนักแผนงาน กรมเจ้าท่า. (2558). รายงานสถิติการขนส่งสินค้าทางน้ำ บริเวณเมืองท่าชายทะเล ปีพ.ศ. 2557 ปีงบประมาณ 2558. สืบค้นจาก https://is.gd/N1sAOB

ชัยวัฒน์ แก้ววิจิตร์. (2558). การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น เพื่อวิเคราะห์พื้นที่ศักยภาพในการสร้างท่าเรือบก (Dry Port) จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ไชยยศ ไชยมั่นคง และ มยุขพันธ์ ไชยมั่นคง. (2556). กลยุทธ์โลจิสติกส์และซัพพลายเชน : เพื่อแข่งขันในตลาดโลก. นนทบุรี : วีชัน พรีเพรส.

ฐาปนา บุญหล้า และ นงลักษณ์ นิมิตรภูวดล. (2555). การจัดการโลจิสติกส์: มิติซัพพลายเชน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน.

ดวงดาว โหมดวัฒนะ, ชุมพล ยวงใย, สุพัฒตรา เกษราพงศ์ และ สมลักษณ์ บุญณรงค์. (2559). การศึกษาหาพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรม

เชิงนิเวศโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. วิศวสารลาดกระบัง, 33(1), 12-17.

ธนิต โสรัตน์. (2558). โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน IMT-GT ICD ทุ่งสง (นครศรีธรรมราช) - ท่าเรือ นาเกลือ (จังหวัดตรัง) ภายใต้กรอบความร่วมมือแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย (อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย). สืบค้นจาก www.tanitsorat.com/.

เนตรปรีชา ชุมไชโย. (2558). การพัฒนาโลจิสติกส์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สืบค้นจาก http//www.moi.go.th/

ปรีชา ประเสิรฐสกุลไชย. (2553). การศึกษาความเหมาะสมของศูนย์กระจายสินค้าในเขตภูมิภาค กรณีศึกษา: บริษัท ABC. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพฯ.

พรเพิ่ม แซ่โง้ว. (2553). การวิเคราะห์ที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าของอุตสาหกรรมต้มกลั่นสุราขาว กรณีศึกษา จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

พัฒนพงษ์ พงษ์ธานี. (2559). การวิเคราะห์ที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง(ICD) กรณีศึกษา ภาคใต้ของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ภาวิณี เอี่ยมตระกูล. (2555). การวางแผนและการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานชุมชนเมือง. สมุทรปราการ: ปารวีค้ากระดาษ.

ยุพิน วงษ์วิลาส. (2557). การวิเคราะห์การเลือกทําเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้า: กรณีศึกษา ธุรกิจบริการ จัดส่งและกระจายสินค้าอุปโภคบริโภค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ระหัตร โรจนประดิษฐ์. (2550). การวางผังเมืองโลจิสติกส์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ราเชนทร์ ชูศรี. (2555). การเลือกทําเลที่ตั้งที่เหมาะสมสําหรับศูนย์กระจายสินค้าวัสดุก่อสร้างในเขตอําเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, เชียงราย.

ศาสน์ สุขประเสิรฐ. (2552). การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสถานีขนส่งสินค้าทางบก จังหวัดนครราชสีมา (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. (2535). กฎกระทรวง ฉบับที่ 2, พระราชบัญญัติโรงงาน, พระราชบัญญัติ. สืบค้นจาก https://is.gd/aYNFBT

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29