การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถส่งสินค้ากระบะตู้ทึบในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • กนิษฐา กาญจนโกศล -
  • วิญญู ปรอยกระโทก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยง ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน พนักงานขับรถส่งสินค้า กระบะตู้ทึบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถส่งสินค้ากระบะตู้ทึบในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถส่งสินค้ากระบะตู้ทึบในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถส่งสินค้ากระบะตู้ทึบในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานขับรถส่งสินค้ากระบะตู้ทึบในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 407 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าทีแบบอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้น ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับปัจจัยเสี่ยงภายใน และระดับปัจจัยเสี่ยงภายนอกมีค่าอยู่ในระดับมาก ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถส่งสินค้ากระบะตู้ทึบในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถส่งสินค้ากระบะตู้ทึบ ปัจจัยส่วนบุคคลทางด้านเพศและปัจจัยรูปแบบของธุรกิจที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถส่งสินค้ากระบะตู้ทึบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่า ปัจจัยเสี่ยงภายใน และปัจจัยเสี่ยงภายนอกส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถส่งสินค้ากระบะตู้ทึบในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กนกกรณ์ เซ็นกลาง. (2563). บรรยากาศในองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของ พนักงานเอกชนในจังหวัดสระบุรี. สืบค้นจาก https://is.gd/8gkuVF

ดนยา ฉันธนะเลิศวิไล. (2542). การพัฒนาคลังสินค้าสาธารณะในประเทศไทย: กรณีศึกษา สำหรับสินค้าอุปโภคประจำวัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ปกรณ์ พิมพ์สังข์. (2563). ปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบกในมหาวิทยาลัยนเรศวรและพื้นที่โดยรอบ.

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

สุพพัต อิสราศิวกุล. (2562). การพัฒนาสมรรถนะของพนักงานขับรถขนส่ง ตามหลัก 7R กรณีศึกษา: กลุ่มธุรกิจขนส่งสินค้า. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.

สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวง อุตสาหกรรม. (2558). คู่มือการประเมินประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (ILPI) และการประเมินประสิทธิภาพซัพพลายเชน (SCPI). สืบค้นจาก https://dol.dip.go.th/th

อุทัยวรรณ จรุงวิภู. (2563). การบริหารความเสี่ยงสำหรับบุคคล. ใน คู่มือปฏิบัติงานสำหรับนายหน้าประกันชีวิต.

( น. 2-25). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30