ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจสั่งอาหารโดยใช้แอปพลิเคชัน บริการส่งอาหารของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • วันวิสา วงศ์คำสาย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุรีรัตน์ อินทร์หม้อ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุคนธ์ทิพย์ วงศ์พันธ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การตัดสินใจสั่งอาหาร, แอปพลิเคชันบริการส่งอาหาร, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจสั่งอาหารโดยใช้แอปพลิเคชันบริการส่งอาหารของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุจำนวน 385 คน อายุระหว่าง 50 - 65 ปี ในจังหวัดปทุมธานีผู้ซึ่งเคยใช้แอปพลิเคชันบริการส่งอาหาร โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าทีแบบอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ รายได้ และจำนวนสมาชิกในครอบครัว
มีผลต่อการตัดสินใจสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันบริการส่งอาหาร ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด
มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการตัดสินใจสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันบริการส่งอาหารของผู้สูงอายุ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการขาย มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันบริการส่งอาหารในระดับสูง
         

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1159

กัญสพัฒน์ นับถือตรง. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 104-113.

กันหา พฤทธิ์, พงศกร วิเชียรโสมวิภาต, สถาพร เกียรติพิริยะ, นารี รัตนไชย และ ไชยา ประดิษฐธรรม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธุรกิจส่งอาหารออนไลน์ในยุคสังคมความปกติใหม่. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8(2), 75-89.

เกษรา โพธิ์เย็น. (2562). สังคมผู้สูงอายุ: โอกาสของธุรกิจที่ยั่งยืนในอนาคต. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 201-209.

ไซมอน โชติอนันต์ และ พฤทธิ์ พรชนัน. (2554). จิตวิทยาการตลาด (Psychologicalfactors).

สืบค้นจาก http://graduate.east.spu.ac.th/graduate/admin/knowledge/ A198Psychological.pdf.

ณัธภัทร เฉลิมแดน. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคในการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชันช่วงเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.

ธัญลักษณ์ เพชรประดับสุข. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ปรเมษฐ์ สิริพิพัฒน์ และ ฐติกุล ไชยวรรณ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการ ตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุคนไทย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 26(2), 135-149.

ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: ท้อป.

ฟิลลิป คอตเลอร์. (2546). ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix). สืบค้นจาก http:/spssthesis.blogspot.com.

ศรานนท์ โตบุญมา และณัฐวัฒน์ กุณาหล่าย. (2562). พฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการ Food Delivery. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). ศูนย์วิจัยกสิกรคาด ธุรกิจ Food Delivery ปี 64 มูลค่ารวมทะลัก 5.58 หมื่นล้านบาท โต 24.4%. สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/113864.

สมวลี ลิมป์รัชตามร. (2559). “ผู้สูงวัย” เทรนด์ลูกค้ามาแรง ! แต่ทำไมนักการตลาดยังมองข้าม.สืบค้นจาก https://positioningmag.com/1100674.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ETDA เผย คน Gen -Y สั่งอาหารออนไลน์มากสุดและกว่า 40% สั่งเพราะหวั่นโควิด-19. สืบค้นจาก https/www-etda-or-th/th/newsevents/pr-news/Online-Food-Delivery-Survey-2020.aspx

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี. (2562). รายงานการวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. สืบค้นจาก http://old.industry.go.th/pathumthani/index.php/2016-09-06-08-07-26/2016-09-06-08-09-08/23153-6-62-1/file.

Brandbuffet. (2561). เจาะผู้บริโภค ‘วัยทองคำ’ มีครบทั้ง “เงิน-แรง-เวลา” พร้อมกลยุทธ์มัดใจ“AWUSO” ให้อยู่หมัด. สืบค้นจาก https://www.brandbuffet.in.th/2018/05/awuso-society-insight-thai-aging-segment.

Cochran, W. G. (1963). On the performance of the linear discriminant function. HARVARD UNIV CAMBRIDGE MASS.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. (3rd ed.). New York:

Harper & Row.

Hoyer, W. D. & MacInnis, D. J. (2001). Consumer Behavior (2nd ed.). Boston, Houghton Mifflin.

Marketingoops. (2564). เผยอินไซต์ Food delivery ช่วงโควิดระลอก 3 ‘ใครคือลูกค้าหลัก-เมนู ไหนฮิต-ช่วงใดขายดีสุด’ และ ‘ร้านอาหารควรปรับตัวอย่างไร’. สืบค้นจาก https://www.marketingoops.com/news/insight-food-delivery-covid-19/

Market Think. (2564). อย่าลืมนึกถึง “Silver Gen นักช้อปที่กำลังถูกลืม”. สืบค้นจากhttps://www.marketthink.co/21340

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30