ปัจจัยสู่ความสำเร็จของธุรกิจท่าข้าว ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • ปนิดา สมสงวน มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ชนิดา ยาระณะ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ปัจจัยสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ, ความสำเร็จของธุรกิจ, ธุรกิจท่าข้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทฤษฎีฐานรากเกี่ยวกับปัจจัยสู่ความสำเร็จของธุรกิจท่าข้าว ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรและเพื่อศึกษาขั้นตอนการประกอบธุรกิจท่าข้าวในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ตลอดจนการศึกษาแนวทางการปรับปรุงพัฒนาธุรกิจท่าข้าว ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ประกอบการธุรกิจท่าข้าวในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นกลุ่มตัวอย่างเชิงทฤษฎี เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ มีความรู้ ความเข้าใจ และเชี่ยวชาญในธุรกิจ สามารถให้สัมภาษณ์ข้อมูลกึ่งโครงสร้าง (Semi structure interview) ผู้วิจัยใช้แบบแผนการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ร่วมกับการเลือกตัวอย่างแบบ สโนว์บอล (Snowball Sampling) และข้อมูลอิ่มตัวที่ 8 ราย ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการตรวจข้อมูลสามเส้า (Triangulation) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยสู่ความสำเร็จของธุรกิจท่าข้าว ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ในทัศนคติของผู้ให้สัมภาษณ์มีดังนี้ 1.ด้านความซื่อสัตย์ 2.ด้านเรียนรู้และพร้อมปรับตัวทุกสถานการณ์ 3.ด้านการบริหารจัดการเงินทุน มีการวางแผนการเงิน 4.ด้านความใส่ใจและพร้อมมุ่งมั่น 5.ด้านการรู้จักเครือข่ายทางธุรกิจ (connection) 6.ด้านจิตวิทยาการพูด ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า 7.ด้านการบริหารจัดการบุคคล และ ความสำเร็จของธุรกิจท่าข้าว ในทัศนคติของผู้ให้สัมภาษณ์ มีดังนี้ 1.ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ระยะยาว 2.ธุรกิจดำเนินงานโดยไม่มีภาระหนี้สินผูกพัน และ มีผลกำไรเป็นที่พอใจในทัศนคติของตัวผู้ประกอบการ 3.ธุรกิจท่าข้าวเป็นตามกลไกตลาด ประเด็นสำคัญที่ค้นพบในขั้นตอนการประกอบธุรกิจท่าข้าว พบว่า 1.การรับซื้อข้าวของผู้ประกอบการท่าข้าวไม่มีการวัดคุณภาพข้าวด้านความชื้น 2.การรับซื้อข้าวมีการจ่ายชำระให้ด้วยเงินสด และ ราคาคือสิ่งที่ชาวนาตัดสินใจในการขายข้าวให้ แนวทางการปรับปรุงพัฒนาธุรกิจท่าข้าว พบว่า ปัญหาภายนอกธุรกิจท่าข้าวในมุมมองทัศนคติผู้ให้สัมภาษณ์ มีดังนี้ 1.ปัญหาการประกอบธุรกิจท่าข้าวด้านคู่แข่งจำนวนมาก แข่งขันที่ “ราคา” เป็นสำคัญ 2.ภาครัฐเข้ามาแทรกแซง ทำให้ไม่เป็นไปตามกลไกตลาด 3.ความผันผวนของราคาข้าว 4.กฎหมายจำกัดน้ำหนักรถบรรทุก 5.เทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน ปัญหาภายในธุรกิจท่าข้าวในมุมมองทัศนคติผู้ให้สัมภาษณ์ 1.การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ การเพิ่มทักษะการทำงานให้พนักงาน 2.ปัญหาการขนส่ง ด้านลดความเสี่ยงอุบัติเหตุ 3.ปัญหาด้านเครื่องชั่งน้ำหนักรถบรรทุก 4.ปัญหาด้านความเพียงพอของรถบรรทุกข้าวเปลือก

References

เชษชุดา เชื้อสุวรรณ. (2561). อุตสาหกรรมข้าวไทย. สืบค้นจาก https://www.krungsri.com

ทวีศักดิ์ นพเกษตร. (2555). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเล่ม2 (พิมพ์ครั้งที่3). พิษณุโลก: หจก.อินดี้อาร์ต.

ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.

เพ็ญจันทร์ ตันติวิมลขจร. (2552). ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: กรณีศึกษาเขตพื้นที่ภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

มัณฑนา รุ่งเพชรรังสี. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกจำหน่ายข้าวเปลือก ให้แก่ท่าข้าวของชาวนา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจังหวัดเชียงราย).

วุฒิพล พิศปั้น. (2557). ข้าวไทย:ความสำคัญต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง. สืบค้นจาก http://nukezminoz.blogspot.com

ศุภธณิศร์ เติมสงวนวงศ์. (2554). ปัจจัยความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดสรรสุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว ในจังหวัดเชียงใหม่: กรณีศึกษา อำเภอสันทราย.(รายงานการวิจัยปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพายัพ).

สารานุกรมภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย.(มปป.). ความสำคัญของข้าว. สืบค้นจากhttps://sites.google.com/a/wanthawee.com/www/khwam-sakhay-khxng-khaw

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นจาก http://www.royin.go.th/dictionary/

Armstrong, Michael. (2006). A Handbook of Human Resource Management Practice (10 th ed). London: Kogan Page.

Gary Dessler. (2009). A Framework for human resource management. USA: Pearson.

Kotler Philip. (2003). Marketing Management (11th ed.). New Jersey: Prentice Hall Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24