ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการคลินิกกายภาพบำบัด ในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การตัดสินใจ, คลินิกกายภาพบำบัด, กรุงเทพมหานคร, ปัจจัยการเข้ารับบริการบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ารับบริการกายภาพบำบัดในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และ ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดด้านการบริการ 8Ps โดยรวบรวมข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทั้งหมด 400 ตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Judgement Sampling/Purposive Sampling) และการสุ่มแบบก้อนหิมะ (Snowball Sampling) ใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบความสัมพันธ์คือสถิติ Pearson Chi Square ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามลำดับค่าเฉลี่ยดังนี้ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านบุคลากร ด้านผลผลิตและผลิตภาพ ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านการจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ในส่วนของอายุและรายได้มีความสัมพันธ์ต่อการเข้ารับบริการคลินิกกายภาพบำบัดในเขตกรุงเทพมหานคร ในด้านสถานที่ที่เข้ารับบริการ ด้านผู้ตัดสินใจในการเข้ารับบริการ ด้านความถี่ ด้านค่าบริการ และ ด้านวันและเวลาที่จะสะดวกเข้ารับบริการ โดยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กนกวรรณ ทองรื่น และสุพรรณี อินทร์แก้ว. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภคในจังหวัดสระบุรี.วารสารวิชาการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 1(1), 25-33.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2561). รายได้ธุรกิจคลินิกกายภาพบำบัดปี 2558-2560. สืบค้นจากhttp://datawarehouse.dbd.go.th/.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). ข้อมูลสถิติจำนวนผู้สูงอายุประเทศไทย ปี 2561 ด้วยระบบ Power Bi. สืบค้นจากhttp://www.dop.go.th/th/know/1/153
ฉัตยาพร เสมอใจ.(2550). การจัดการและการตลาดบริการ. ซีเอ็ดยูเคชั่น: กรุงเทพฯ.
ประกาศราชกิจานุเบกษา สำนักทะเบียนกลาง. (2561). เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรตามหลักฐาน การทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนกลาง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560. สืบค้นจาก
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF.
ภุชพงค์ โนดไธสง. (2561). แถลงข่าว สถิติบอกอะไร ผู้สูงวัยปัจจุบันและอนาคต. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/Press_Release/2561/N10-04-61-1.aspx
ภัคจิรา ปิติผล และ อิทธิกร ขำเดช. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ คลีนิคกันยากายภาพบำบัดของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 3(2), 413-430.
ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล และ คณะ. (2559). รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ Medical Hub ปีงบประมาณ พ.ศ.2559.
กองสุขภาพระหว่างประเทศ.กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก
http://hss.moph.go.th/fileupload_doc/2017-12-18-1-17-37017767.pdf
วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์. สืบค้นจาก http://learning ofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_11.html?m=1.
วศิน กุลสมบูรณ์.(2559). ออฟฟิศซินโดรม อาการป่วยเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม. สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/17182.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: วิสิทธิ์พัฒนา.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2561). ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2561. สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล, 27 (มกราคม 2561). สืบค้นจาก https://board.postjung.com/1079840
อรประไพ คงประชา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกถึงความภักดีในเชิงพฤติกรรมด้านการบอกต่อของผู้ใช้บริการคลินิกกายภาพบำบัดเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
Kar 2011, อ้างใน ศิริกาญจน์ กมลปิยะพัฒน์. (2556). การตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
Kotler and Philip 2014, อ้างใน ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: วิสิทธิ์พัฒนา.
Roscoe. (1969 pp.156-157), อ้างใน กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ (2556).การวิจัยทางการพยาบาล: แนวคิด หลักการและวิธีปฏิบัติ. นนทบุรี: พิมพลักษณ์.
Schiffman and Leslie 2004, pp. 547-582 อ้างใน สุนันท์ สุขสมบูรณ์. (2548). กระบวนการซื้อของผู้บริโภคบริการ ใน เอกสารคำสอนรายวิชาการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว