การสื่อสารการตลาดในรูปแบบสื่อสังคมออนไลน์กับความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการรีสอร์ท เพื่อสุขภาพ (Retreat) ในจังหวัดกระบี่
คำสำคัญ:
การสื่อสารการตลาดในรูปแบบสื่อสังคมออนไลน์, ความคาดหวัง, รีสอร์ทเพื่อสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดในรูปแบบสื่อสังคมออนไลน์กับความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการรีสอร์ทเพื่อสุขภาพ (Retreat) ในจังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาถึงท่าอากาศยานจังหวัดกระบี่และผู้ที่มีความต้องการจะใช้บริการรีสอร์ทเพื่อสุขภาพ (Retreat) ในจังหวัดกระบี่ จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test, One-Way ANOVA และ Multiple Regression Analysis ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-35 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/รับจ้าง และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป โดยมีระดับการสื่อสารการตลาดในรูปแบบสื่อสังคมออนไลน์โดยรวม อยู่ในระดับมาก ระดับความคาดหวังโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นักท่องเที่ยวที่มีเพศ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการรีสอร์ทเพื่อสุขภาพ (Retreat) ในจังหวัดกระบี่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยการสื่อสารการตลาดในรูปแบบสื่อสังคมออนไลน์ด้านการส่งเสริมการขาย (β=0.311) ด้านการโฆษณา (β=0.234) และปัจจัยความคาดหวังด้านลักษณะทางกายภาพ (β=0.278) ด้านคุณภาพการบริการ (β=0.212) ด้านความเหมาะสมของราคา (β=0.162) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการรีสอร์ทเพื่อสุขภาพ (Retreat) ในจังหวัดกระบี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2560). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th
กรมท่าอาศยาน. (2560). ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ ท่าอากาศยานจังหวัดกระบี่ ปี 2560. สืบค้นจาก http://www.airports.go.th/th/content/349/1659.html
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2546-2561). สถานที่พักโรงแรม และที่พักในประเทศไทย. สืบค้นจาก http://thai.tourismthailand.org/ที่พัก
ชวลิต อริยะวิริยานันท์. (2557). อิทธิพลของสื่อโฆษณาที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่อยู่อาศัย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ณัฐพล พนมเลิศมงคล. (2553). พฤติกรรมและความพึงพอใจของลูกค้าต่อการใช้บริการของโรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ).
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว. นนทบุรี: เฟริ์นข้าหลวงพริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.
พัชรากร ชมพูนุช. (2553). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการเลือกโรงแรม ที่พัก และรีสอร์ท ในเขตบางแสน จังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ภูชิษา ปันแก้ว. (2557). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้รถรางที่จัดโดยเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
มานิต รัตนสุวรรณ และสมฤดี ศรีจรรยา. (2554). ยุทธศาสตร์การตลาด. กรุงเทพฯ: สุขขุมการพิมพ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). บทความ. สืบค้นจาก http://www.royin.go.th/? knowledge=สื่อสังคม-๔-ตุลาคม-๒๕๕๖
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม.
สัจจา โสภา. (2556). ความคาดหวังและความพึงพอใจนักเรียนต่อการบริการที่ศูนย์เตรียมความ พร้อมภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
สมิต สัชฌุกร. (2546). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สายธาร.
สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2551). การสื่อสารทางการตลาด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องอาจ ปทะวานิช. (2550). การโฆษณาและกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
อรุณี ลอมเศรษฐี. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเลือกใช้บริการที่พักในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
Elizabeth F. Churchill. (2012). Social Media Meaning. Proceeding of the 2012 international Workshop on Socially-aware multimedia. New York. USA.
Kotler, Phillip., & Keller, K. L. (2009). Marketing management (13th ed). Pearson Education International.
Walton,R.E. (1965). A Behavioral Theory of Labor Negotiations. New York: Mc Graw-Hill.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3th ed). New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว