ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรโรงพยาบาลหนองแค

ผู้แต่ง

  • นิวัตต์ จุลจำเริญทรัพย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคลในด้าน เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาในการทำงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลหนองแค และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลหนองแค ประชากรตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรโรงพยาบาลหนองแคทั้งหมด จำนวน 182 คน และบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่อยู่ในการดูแลของโรงพยาบาลหนองแคจำนวน 49 คน รวมทั้งหมด 231 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาสรุปว่า บุคลากรโรงพยาบาลหนองแคที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาในการทำงาน แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การในภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรโรงพยาบาลหนองแคที่มีสถานภาพแตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลหนองแค พบว่า ทั้งด้านปัจจัยจูงใจ และด้านปัจจัยค้ำจุนกับความผูกพันต่อองค์การมีความสัมพันธ์กันทำงบวกในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.01 และยังพบอีกว่ามีปัจจัยจูงใจเพียง 4 ด้านที่สามารถพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การได้อย่างมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05 และมีปัจจัยค้ำจุนเพียง 5 ด้านที่สามารถพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การได้อย่างมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ 0.05

References

จิระพร จันทภาโส. (2558). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูและบุคลากรทำงการศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (สารนิพนธิ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).

บุษกร ทรงมีฤทธิ์. (2559). ภาวะผู้ตาม บรรยากาศในการทำงาน ความสุขในการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

พัชรินทร์ ผิวนิล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท ไฮเออร์ อิเลคทริค (ประเทศไทย) จากัด (มหาชน). (ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ศราวุธ แสงประกาย. (2556). แรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานขาย

กรณีศึกษาบริษัท เดอเบล จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สรนันท์ บางแสง. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน). (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สุริยพันธ์ จันทมาลา. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์ของ พนักงานโรงแรม เบสท์ เวสเทิร์น พรีเมียร์ อมาแรนธ์ สุวรรณภูมิ แอร์พอร์ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

อภิญญา ทองเดช. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน). (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

Buchanan, B. (1974). Building organization commitment: The socialization of managers in work organizations. Administrative Science Quarterly, 19(40), 533-546.

Chatzkel,J.L. (2003). Knowledge Capital: how knowledge-based enterprises really get built. New York: Oxford university press.

Herzberg, F. & Mausner, B. & Snyderman, B. (1959). The Motivation to Work (2nd ed). New York: John Wiley and Sons Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24