รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในการพัฒนาท้องถิ่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • พรรณพรรษ หัตถวงษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภารดี อนันต์นาวี มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารสถานศึกษา, การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สร้างรูปแบบ การบริหารสถานศึกษาตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้เทคนิคเดลฟายจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง ระยะที่ 2 ตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการสนทนากลุ่ม จากผู้ปฏิบัติ จำนวน 10 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างคลอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการบริหารสถานศึกษาการจัดการศึกษาในระบบตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบการบริหารสถานศึกษาการจัดการศึกษานอกระบบตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. ผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า รูปแบบที่สร้างขึ้นทั้ง 3 รูปแบบ มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ และมีกระบวนการจัดการศึกษาเหมือนกับกระบวนจัดการศึกษาที่สร้างขึ้นตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรงเทพฯ: ที.เอส.บี.

โปรดักส์.

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2538). ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย กรมฯ.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2557). รายงานผลการนิเทศ ติดตาม และประเมิน ผลการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2557. สืบค้นจาก http://www.dla.go.th/work/dlaPlan2557.pdf

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. สืบค้นจาก https://person.mwit.ac.th/01-Statutes/NationalEducation.pdf

การีหม๊ะ หะยีอาซา. (2557). การบริหารงานงบประมาณโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอทุ่งยางแดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา).

เกียรติศักดิ์ ษารักษ์. (2555). นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านสำนักใหม่ ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชชา, 30(1), 35-46.

คมกฤช จันทร์ขจร. (2551). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

โคสิต อ่อนประทุม. (2559). ปัจจัยการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิ ผลการบริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยปทุมธานี).

ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล. (2559). แนวทางการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับประเทศไทย. Veridian E-Journal, 9(3), 984-1004.

ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ และคณะ. (2544). การศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัย กรมการศึกษานอกโรงเรียน.

ธิติ พึ่งเพียร. (2554). ความต้องการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของประชาชน เทศบาล ตำบลโพสะ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง. (ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การศึกษา ผู้ใหญ่) ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

บุญมี เณรยอด. (2546). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน: วิถีและวิถี. สืบค้นจาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/122-file.pdf

พัชรินทร์ จันทร์กระจ่าง. (2554). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายบ้านไร่-เนินเหล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).

พิมพรรณ สุริโย. (2552).ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 9 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย).

รุ่ง แก้วแดง. (2546). โรงเรียนนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด.

วรรณิภา ทันเที่ยง. (2550). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ กรณีศึกษาศูนย์การเรียนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง บ้านห้วยวอก จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิจารณ์ พานิช. (2558). แนวโน้มการบริหารสถาน ศึกษาในศตวรรษที่ 21. ในการบรรยายพิเศษของ ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช (5-15). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ภัธรภร ปุยสุวรรณ. (2556). แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาของสมาคมผู้ปกครองและครูที่เหมาะสมกับสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ภูมิภาคิณศม์ อิสสระยางกูล .(2554). การบริหารงบประมาณและการเงินในอนาคตสำหรับ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ศิรินทิพย์ ธิติพงศ์วณิช. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี).

สาธิต ปรัชญาอริยะกุล. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม ขององค์กรในชุมชนเชิงบูรณาการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

สุกัญญา แช่มช้อย. (2553). การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกอบอาชีพ: โรงเรียนถนอม ราษฎร์บำรุง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

สุจินต์ กลัดประสิทธิ์.(2550). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชนของคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนจังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สุทธิศักดิ์ นันทวิทย์. (2558). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา).

สุวรรณ์ พิณตานนฑ์ และกาญจนา วัธนสุนทร. (2555). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น. ใน เอกสารประกอบการฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงบประมาณทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาในสังกัด ประจำปีงบประมาณ 2556. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอ็ดดูมีเดียพับลิชชิ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. สืบค้นจาก https://www.nesdb.go.th/download/article/article_20160323112431.pdf

อัมพร พงษ์กังสนานันท์. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. (2550). แนวโน้มการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนของประเทศไทยในทศวรรษหน้า (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Krug,S.E. (1992). Instructional Leadership: A Constructivist Perspective. Educational Administration Quarterly, 28(3), 430-443.

Gold, S. E. (2000). Community Organization at a Neighborhood High School: Promises and Dilemmas in Building Parent-educator Partnership and Collaborations. Proguest Digital Dissertation, 11(4), 23-27.

Wohlstetter, P. (1995). Getting School-Based management Right: What Works and Doesn’t. Phi-Delta Kappan, 77(1), 22-24.

Wilson, R. J. (2001). School - Based Management in Albeta: Percepyions of Public School Leaders 1994 - 1997. Dissertation Abstracts International, 62(13), 337.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24