การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาทฤษฎีพฤติกรรมองค์การเปรียบเทียบไทย-ญี่ปุ่น ของนักศึกษาหลักสูตรการจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่น สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
คำสำคัญ:
กระบวนการการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้, ประสิทธิภาพการเรียนวิชาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาทฤษฎีพฤติกรรมองค์การเปรียบเทียบไทย-ญี่ปุ่น ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักศึกษาจากวิธีกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) ในรายวิชาทฤษฎีพฤติกรรมองค์การเปรียบเทียบไทย-ญี่ปุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาทฤษฎีพฤติกรรมองค์การเปรียบเทียบไทย-ญี่ปุ่น ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559 คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กลุ่มเรียน 1 และ 2 จำนวน 62 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้วิชาทฤษฎีพฤติกรรมองค์การเปรียบเทียบไทย-ญี่ปุ่น เรื่องจริยธรรมขององค์การธุรกิจและความรับผิดชอบต่อสังคม มีค่า E1/E2 เท่ากับ 80.06/80.48 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 แสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวมีประสิทธิภาพ นักศึกษาหลักสูตรการจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่นที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาทฤษฎีพฤติกรรมองค์การเปรียบเทียบไทย-ญี่ปุ่น เรื่องจริยธรรมขององค์การธุรกิจและความรับผิดชอบต่อสังคม มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ≤ .05 โดยมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และความคิดเห็นของนักศึกษาหลักสูตรการจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่น คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) วิชาทฤษฎีพฤติกรรมองค์การเปรียบเทียบไทย-ญี่ปุ่น มีเทคนิคช่วยจำด้านกิจกรรมการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) มากที่สุด รองลงมาเทคนิคช่วยจำด้านประโยชน์ และเทคนิคช่วยจำด้านเนื้อหาน้อยที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544: การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุ สภาลาดพร้าว.
กนกวรรณ วีระรัตนนุสรณ์. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษารายวิชาการเงินธุรกิจ โดยการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบบเอส ที เอ ดี (STAD). วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(2), 31-42.
จุฑาภรณ์ กมลชัย วงศ์คำดี. (2544). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบกิจกรรม STAD. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ชนานันทน์ ฟองศิริ. (2559). การสร้างหนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดประเพณีสำคัญของชาวล้านนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ. (2560). การเปรียบเทียบผลของการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD กับการเรียน โดยการบรรยายปกติที่มีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนเรื่อง ที่ดิน อาคารอุปกรณ์ และค่าเสื่อมราคาในรายวิชาการบัญชีสินทรัพย์, วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 207-218.
นพคุณ แดงบุญ. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
บัญชา ชินโณ และคณะ (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับกระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์พฤติกรรม การทํางานกลุ่ม และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตศึกษา, 11(52), 75-88.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2550). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สุทธิณี ภาพพิมพ์ใจ, และคณะ. (2561) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง เทคโนโลยีน่ารู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ไสว ฟักขาว. (2544). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศููนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.
สจีวรรณ ปราชญ์ศรี. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนในรายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ ครั้งที่ 17 ( น. 817-825). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ.
Slavin, R. E. (1987). Effects of student teams and peer tutoring on academic achievement and time on-task. The Journal of Experimental Education, 48(4), 252-258.
Slavin, R. E. (1987). Cooperative Learning and the Cooperative School. Educational Leadership, 45(3), 7-13.
Slavin, R. E. (1991). Synthesis of Research on Cooperative Learning. Educational Leadership, 48(5), 71-81.
Slavin, R. E. (2011). Instruction Based on Cooperative Learning. New York: Taylor & Francis.
Suwantada, N. (2016). The effect of mathematic learning activities with a teams-games tournaments (TGT) technique: a case study of pre-calculus project 2015. Panyapiwat Journal, 8(2), 144-152.
Thousand, S. J., Villa, R.A. and Nevin, A.I. (2002). Creative and Collaborative Learning. (2nd ed.). Baltimore: Paul Brooke.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว