การวิจัยเชิงคุณภาพ: การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ
คำสำคัญ:
การวิจัยเชิงคุณภาพ, การวิเคราะห์เนื้อหา, โปรแกรมคอมพิวเตอร์, การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพบทคัดย่อ
ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพแตกต่างจากข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณ เนื่องจากข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อความที่ถอดมาจากเทปการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูล หรือ บันทึกจากการสังเกต การเข้าร่วม การตรวจสอบเอกสาร พยานหลักฐาน หรือโสตทัศนูปกรณ์ ต่างๆ ที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมมาทำการวิเคราะห์ควบคู่กันไปกับการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเขิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการและกระบวนการของการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพของข้อมูลดังกล่าวนี้โดยไม่ใช้สถิติ ดังนั้นที่ผ่านมาจึงมักดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยมือซึ่งใช้เวลามาก ในปัจจุบันได้มีผู้ประดิษฐ์คิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจำนวนมาก ซึ่งแต่ละโปรแกรมมีคุณลักษณะและคุณประโยชน์อีกทั้งยังมีความยากง่ายและความเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน รวมทั้งมีความสามารถในการรองรับกับภาษาที่ใช้ในการวิจัยที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เหล่านี้ไม่ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแทนนักวิจัยเหมือนกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณ หากแต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว และมีความแม่นยำมากขึ้น ดังนั้นนักวิจัยจึงจำเป็นที่จะต้องคัดเลือกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพให้เหมาะสมกับลักษณะและขนาดรวมทั้งยุทธศาสตร์และระเบียบวิธีการวิจัยของตน บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพทีมีอยู่อย่างหลากหลายในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักวิจัยสามารถพิจารณาเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับโครงการวิจัยของตนได้
References
จำเนียร จวงตระกูล. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพ: เครื่องมือสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.
จำเนียร จวงตระกูล. (2560). การออกแบบการวิจัยภาคปฏิบัติ: การศึกษาจากบทความวิจัยในวารสารวิชาการ ในประเทศไทย. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์, 4 (2), 172-206.
Assarroudi, A., Nabavi, F. H., Armat, M. R., Ebadi, A., & Vaismoradi, M. (2018). Directed qualitative content analysis: the description and elaboration of its underpinning methods and data analysis process. Journal of Research in Nursing, 23(1), doi: org/10.1177/1744987117741667
ATLAS.ti. (n.d). Retrieved From https://atlasti.com/product/what-is-atlas-ti/
CAQDAS: Computer-Aided Qualitative Data Analysis Software. Retrieved From https://www.quarc.de/single-post/2018/01/26/CAQDAS-Computer-Aided-Qualitative-Data-Analysis-Software
Dedoose. (nd). Retrieved From https://www.dedoose.com/: retrieved 27 September 2019.
Evasys. (nd). 7 Tips for Choosing the Best Qualitative Analysis Software for Your Research. Retrieved From https://www.achievability.co.uk/evasys/7-tips-for-choosing-the-best- qualitative-analysis-software-for-your-research: retrieved 12 September 2019.
Glaser, B. G., & Strauss, A. L. (1967). The Discovery of Grounded Theory: Strategies for Qualitative Research. Chicago, Illinois: Aldine.
Hamad, E. O., Savundranayagam, M. Y., and Johnson, A. M. (2016). Toward a Mixed-Methods Research Approach to Content Analysis in The Digital Age: The Combined Content-Analysis Model and its Applications to Health Care Twitter Feeds. Retrieved From https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4804105/
Hsieh, H-F., & Shannon, S. E. (2005). Three Approaches to Qualitative Content Analysis. Qualitative Health Research, 15(9), 1277-1288.
Kevin, J. (2015). Keeping it Reel?: A Mixed Methods Content Analysis of the Representation of Black Male Students and Black Masculinity in College (Doctor of Philosophy, Louisiana State University).
Illinois University Library (nd). Qualitative Data Analysis Software: Free Software. Retrieved From https://guides.library.illinois.edu/c.php?g=348074&p=2346107
MAXQDA. (nd). Retrieved From https://www.maxqda.com/what-is-maxqda
Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis (2nd ed.). Thousand Oaks, California: Sage.
Miles, M. B., Huberman, A. M., & Saldana, J. (2014). Qualitative Data Analysis: A Methods Sourcebook (3 ed.). Thousand Oaks: SAGE.
NVIVO. (nd). Retrieved From https://www.qsrinternational.com/nvivo/what-is-nvivo
PAT Research. (nd). TOP 21 FREE QUALITATIVE DATA ANALYSIS SOFTWARE. Retrieved From https://www.predictiveanalyticstoday.com/top-free-qualitative-data-analysis- software/
Quantitative Methods for Communication Students. (2014). Content analysis. Retrieved From https://blogs.helsinki.fi/quantitative-communication/methods/content-analysis/
Quirkos. (nd). Retrieved From https://www.quirkos.com/index.html
Rapport, F. (2010). Summative Analysis: A Qualitative Method for Social Science and Health Research. Internaional Journal of Qualitative Methods, 9(3), 270-290.
Riffe, D., Lacy, S., & Fico, F. (2014). Analyzing Media Messages: Using Quantitative Content Analysis in Research (3 ed.). London: Routledge Taylor & Francis Group.
Rodik, P. and Primorac, J. (2015). To Use or Not to Use: Computer-Assisted Qualitative Data Analysis Software Usage among Early-Career Sociologists in Croatia [53 paragraphs]. Forum Qualitative Sozialforschung / Forum: Qualitative Social Research, 16(1), 120. Retrieved From http://nbn-resolving.de/urn:nbn:de:0114-fqs1501127.
Silver, C. (2017). CHOICES, CONTROVERSIES AND CHALLENGES IN COMPUTER ASSISTED QUALITATIVE DATA ANALYSIS. Retrieved From https://www.webqda.net/choices- controversies-and- challenges-in- computer-assisted-qualitative-data-analysis/?lang=en
Valcheva, S. (n.d.) Free Qualitative Data Analysis Software For MAC: Best List. Retrieved From http://intellspot.com/free-qualitative-data-analysis-software-mac/
Zhang, Y. and Wildemuth. B. M. (nd). Qualitative Analysis of Content. Retrieved From http://old-classes.design4complexity.com/7702-F12/qualitative- research/content- analysis.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว