ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจซอฟต์แวร์สตาร์ทอัพ

ผู้แต่ง

  • ไกรวิทย์ โพธิ์ดม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ขวัญฤดี พรชัยทิวัตถ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, ธุรกิจซอฟต์แวร์สตาร์ทอัพ, การสร้างคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของธุรกิจซอฟต์แวร์สตาร์ทอัพในประเทศไทยที่ประสบผลสำเร็จและค้นหาและจัดกลุ่มปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจซอฟต์แวร์สตาร์ทอัพในประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยครั้งนี้คือกิจการซอฟต์แวร์สตาร์ทอัพ จำนวน 197 กิจการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจซอฟต์แวร์สตาร์ทอัพ และสถิติที่ใช้คือการวิเคราะห์องค์ประกอบเพื่ออธิบาย (Exploratory Factor Analysis) ซึ่งผลการวิจัยพบว่าจัดกลุ่มปัจจัยได้จำนวน 8 ปัจจัย ได้แก่ ทักษะพื้นฐานของการประกอบธุรกิจซอฟต์แวร์สตาร์ทอัพ ความสามารถในการสร้างผลิตภัณฑ์ได้รวดเร็ว ผลิตภัณฑ์ดึงดูดและจูงใจให้ลูกค้าใช้งาน ติดตามเทคโนโลยีและเทรนของผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมและสนับสนุนการทำสตาร์ทอัพจากรัฐบาลและเอกชน คุณภาพขององค์กรและผลิตภัณฑ์ ความสามารถในการบริหารของผู้ก่อตั้ง พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องต่อความต้องการของลูกค้า ผลของการวิจัยมีองค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้น ดังนั้นผู้ประการธุรกิจซอฟต์แวร์สตาร์ทอัพยุคใหม่ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยที่เกิดขึ้นใหม่ แต่ไม่ควรละเลยปัจจัยเก่าที่เป็นพื้นฐานเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจซอฟต์แวร์สตาร์ทอัพด้วยเช่นกัน และผู้ประการธุรกิจซอฟต์แวร์สตาร์ทอัพรายเก่าควรคำนึงถึงความสามารถในการสร้างผลิตภัณฑ์ได้รวดเร็วที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จใหม่จากการวิจัยเพื่อให้ธุรกิจก้าวทันความสำเร็จในยุคใหม่

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2561). สถิติการจดทะเบียน. สืบค้นจาก https://datawarehouse.dbd.go.th/bdw/menu/est/1.html

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). Startup. สืบค้นจาก http://www.industry.go.th/industry/ index.php/ th/knowledge/item/10604-startup

กวิน อัศวานันท์. (2560). ทำไม “สตาร์ทอัพ” ของคุณถึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่คิด?. สืบค้นจาก https://www.marketingoops.com/news/techupdate/startups/ why-startups-fail/

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

จิตพิสุทธิ์ ภูสะอาด. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จทางธุรกิจซอฟต์แวร์ กรณีศึกษา บริษัท ไฮโซ สตรีมจำกัด. (รายงานการศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล. (2557). วิพากษ์วงการสตาร์ตอัพไทย. สืบค้นจาก https://www.blognone. com/node/54166

ณฤทธิ์ วรพงษ์ดี. (2560). SET Your Startup Business Guide รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ. กรุงเทพฯ: ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ลงทุน ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ธนาคารกรุงเทพ. (2559). รู้จักกับ Thailand 4.0 แบบเข้าใจง่าย. สืบค้นจาก https://www.bangkokbanksme. com/acticle/10053

พยัต วุฒิรงค์. (2559). 9 นิสัยของ Startup ที่ประสบความสำเร็จ (ไม่เคยมีใครบอก). สืบค้นจาก https://www.smartsme.co.th/content/33977

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2547). การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis : FA). สืบค้นจาก https://edu.msu.ac.th/jem/home/journal_file/114.pdf

สุพเนตร แสนเสนา และคณะ. (2561). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจ Startup. สืบค้นจาก http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_1_Startup.pdf

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2560). 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายกลไกขับเคลื่อนเพื่ออนาคต. สืบค้นจาก http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments /publications/newengineofgrowth.pdf

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2560). depa เผย 4 มาตรการส่งเสริมและสนับสนุน Digital Startup. สืบค้นจาก http://www.depa.or.th/th/article/depa-เผย-4-มาตรการส่งเสริมและสนับสนุน-digital-startup.

Ahmed, G. (2014). Critical success factors & why CSFs important for business success. Retrieved form http://www.studylecturenotes.com/management/ critical- success-factors-why-csfs-important-for-business-success

Blank, S. G., & Dorf, B. (2012). The startup owner's manual: The step-by-step guide for building a great company. Pescadero, Calif: K & S Ranch, Inc.

Cao, D. & Chow, T. (2008). A survey study of critical success factors in agile software projects. The Journal of Systems and Software, 81(6), 961-971.

Langen, F.D. & Groenewegen, G. (2012). Critical success factors of the survival of start-ups with a radical innovation. Journal of Applied Economics and Business Research, 2(3), 155-171.

Saura, J. R., Palos-Sanchez, P., & Grilo, A. (2019). Detecting indicators for startup business success: Sentiment analysis using text data mining. Sustainability, 11(3), 917. Retrieved from https://www.mdpi.com/2071-1050/11/3/917

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24