พฤติกรรมสารสนเทศของผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในหมวดหมู่ธุรกิจบริการในเขตจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • นฎกร สุดพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ผู้ประกอบการ, พฤติกรรมสารสนเทศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสารสนเทศของผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในหมวดหมู่ธุรกิจบริการ ในเขตจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มบริการ ในเขตจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างโดย Independent Sample t-test, One - way ANOVA และ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีรูปแบบจดทะเบียนแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด ดำเนินกิจการมาแล้วไม่เกิน 3 ปี มีเงินทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 5 ล้านบาท มีพนักงานไม่เกิน 50 คน และเป็นวิสาหกิจขนาดกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ประกอบการที่มีรูปแบบกิจการ และจำนวนพนักงานที่ต่างกันมีพฤติกรรมสารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนในการสนับสนุนหรือส่งเสริมธุรกิจ ควรกระตุ้นให้กิจการเห็นความสำคัญของการจัดทำ และการใช้สารสนเทศของกิจการ เพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการ การวางแผน และการพัฒนาธุรกิจของจังหวัดปทุมธานีต่อไป

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2561). สถิติการจดทะเบียน. สืบค้นจาก http://datawarehouse.dbd.go.th/bdw/menu/est/1.html

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กริชยา ติวทอง และ ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ. (2562). พฤติกรรมสารสนเทศของผู้ประกอบการ SMEs ตามแนวเศรษฐกิจตะวันออก–ตะวันตก. วารสารอินฟอร์เมชั่น, 24(2), 55-56.

ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ, สมาน ลอยฟ้า และเพ็ญพันธ์ เพชรศร. (2556). พฤติกรรมสารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยขอนแก่น. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 30 (3), 157-196.

ณัฐวุฒิ วิเศษ. (2555). ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จังหวัดนนทบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(1), 13 - 24.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ธนาคารกสิกรไทย. (2560). เทคโนโลยีช่วย SME โตไม่หยุด ยุคดิจิตัล. สืบค้นจาก https://kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAn alysis/Pages/Technology-helps-SME-in-digital-age.aspx

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2554). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6) ปรับปรุงแก้ไข. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สมยศ นาวีการ. (2547). การพัฒนาองค์การและการจูงใจ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ 1991.

สมาน ลอยฟ้า. (2545). การรู้สารสนเทศ: ทักษะที่จำเป็นสำหรับสังคมสารสนเทศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มข. 19(1), 1 - 6.

สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2554). แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555 - 2559) สืบค้นจาก https://is.gd/oI8av8

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการพัฒนานโยบายการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ ตามอัธยาศัยเพื่อการสร้างสังคมแห่งการ เรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ : กลุ่มนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำนักนโยบายด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตและโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Davenport, T.H. and L. Prusak, (1997). Information Ecology: Mastering the Information And Knowledge Environment. New York: Oxford University Press.

Gendina, N.I., et al., (2004). Formation of Information Culture of Personality: Theoretical Rationale and Modeling the Substance of a Scientific Discipline. Kemerovo: Kemerovo State University of Culture and Arts.

Todd, R. J. (2003). Adolescents of the information age: patterns of information Seeking and use, and implications for information professionals. School Libraries Worldwide. 9(2), 27 - 46.

Wilson, T.D. (2000). Human Information Behavior. Informing Science. 3(2), 49-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-12