การดำเนินงานด้านการบริการของธุรกิจขนส่งพัสดุที่ส่งผลต่อ การใช้บริการซ้ำ: กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
คำสำคัญ:
การดำเนินงานด้านบริการ, การใช้บริการซ้ำ, ธุรกิจขนส่งพัสดุ, บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานด้านการบริการของธุรรกิจขนส่งพัสดุที่ส่งผลต่อการใช้บริการซ้ำ: กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในกรุงเทพมหานคร มีขนาดกลุ่มตัวอย่าง เป็นจำนวน 400 คน จากการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติ c2 มีค่าเท่ากับ 219.980 โดยมีค่า p-value เท่ากับ 0.061 c2/df มีค่าเท่ากับ 1.164 GFI มีค่าเท่ากับ 0.959 AGFI มีค่าเท่ากับ 0.934 CFI มีค่าเท่ากับ 0.995 และ RMSEA มีค่าเท่ากับ 0.020 และพบว่า การดำเนินงานด้านการบริการ ได้แก่ ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านบุคคล ส่งผลต่อการใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 53
References
กมลมาลย์ แจ้งล้อม และ ปุญญภพ ตันติปิฎก (2563). TRANSPORT & LOGISTICS 2020 : อีไอซี วิเคราะห์ธุรกิจขนส่งพัสดุ ในปี2020 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นจาก แรงกดดันด้านราคา. สืบค้นจาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/6563
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
ฐิติรัตน์ คุณรัตนาภรณ์. (2550). การบริหารช่องทางการตลาด. กรุงเทพฯ: ช่อระกา.
ไพศาล วรคำ. (2554). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity: Capitalization the value of a brand name. New York: Free.
Ahmed, I., Shankat, M. Z., Nawaz, M. M. Ahmed, N., & Usman, A. (2011) Determinants of the satisfaction and repurchase intentions of users of short messenger services (SMAS): A study in the telecom sector of Pakistan. International Journal of Management, 28, 763 - 772.
Anderson, E. W., Fornell, C., & Lehmann, D. R. (1994). Customer satisfaction, market share, and profitability: Findings from Sweden. Journal of Marketing, 58(3), 53 - 66.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John wiley & Sons.
Cronin, J. J., Brady, M. K., & Hult, G. T. M. (2000). Assessing the effects of quality, value, and customer satisfaction on consumer behavioural intentions in service environments. Journal of Retailing, 76(2), 193-218.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.), Prentice Hall.
Hellier, D. I., Geursesn, G. M., Carr, R. A., & Rickard, J. A. (2003). Customer repurchase intention: A general structural equation model. European Journal of Marketing, 37, 1762 - 1800.
Kotler, P., & Keller, K.L. (2012). Marketing management: The millennium (14th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Manida Phuphaitun. (2563). ตลาดขนส่งพัสดุเดือด!! คาดปี 63 เติบโต 35% รับเทรนด์ช้อปปิ้ง ออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.bltbangkok.com/news/13086/
Zeithaml, Berry & Parasuraman. (1996). The Behavioral Consequences of Service Quality. Journal of Marketing, 60(2), 31 - 46.
Zikmund, W.G., Babin, B.J., Carr, J.C., & Dan, G.M. (2010). Business Research Methods (8th ed.). Australia: SouthWestern Cengage Learning.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว