คุณลักษณะความน่าเชื่อถือของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจทำศัลยกรรมความงามของวัยรุ่นไทย
คำสำคัญ:
คุณลักษณะ, ความน่าเชื่อถือ, ผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อออนไลน์, ศัลยกรรมบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร กับพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊กของวัยรุ่นไทย และคุณลักษณะความน่าเชื่อถือของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อออนไลน์ ที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจทำศัลยกรรมความงามของวัยรุ่นไทย เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ที่สนใจทำศัลยกรรมและผู้ที่เคยทำศัลยกรรม โดยศึกษาจาก 4 เพจดังที่มีคนติดตามมากที่สุดคือ เพจ Warinthorn Watrsang เพจพิเชษฐ์ ผดุงนานนท์ เพจเซญ่า กะทะร้อน และเพจ Vanrisa Namirach (Nokky) และการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการเชิงสำรวจ โดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ติดตาม 4 เพจตัวอย่างที่ศึกษา จำนวน 400 ชุด ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสนใจเรื่องการทำศัลยกรรม มากที่สุด โดยใช้เฟซบุ๊กหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำศัลยกรรม ทั้งนี้ติดตามเพจของ Warinthorn Watrsang มากที่สุด รองลงมา คือ พิเชษฐ์ ผดุงนานนท์ Vanrisa Namirach (Nokky) และเซญ่า กะทะร้อน โดยใช้สมาร์ทโฟนเข้าถึงข้อมูลมากที่สุด มีการใช้เฟซบุ๊ก โดยเฉลี่ยตั้งแต่ 1-3 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ใช้เพื่อคลายความเหงา และแบ่งปันข้อมูล คุณลักษณะความน่าเชื่อถือของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อออนไลน์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบุคลิกภาพ มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความเชี่ยวชาญ ด้านความโด่งดังเป็นที่รู้จัก ด้านความสัมพันธ์กับแฟนเพจ และด้านประสบการณ์ ตามลำดับ รายละเอียด ดังนี้ 1) ด้านบุคลิกภาพ พบว่า ทั้ง 4 เพจ มีบุคลิกภาพดี มีความสวยงามมากขึ้นหลังการศัลยกรรม 2) ด้านความโด่งดังเป็นที่รู้จัก พบว่า ทั้ง 4 เพจ เป็นผู้มีความโด่งดังเป็นที่รู้จัก จากยอดการติดตามจำนวนมาก 3) ด้านประสบการณ์ พบว่า ทั้ง 4 เพจ มีวิธีการถ่ายทอดประสบการณ์แบบการอ้างอิงจากตัวอย่าง ผลลัพธ์จากผู้ที่เคยทำศัลยกรรม โดยเพจ Warinthorn Watrsang ส่วนใหญ่ใช้วิธีการถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านถ่ายทอดสด 4) ด้านความเชี่ยวชาญ พบว่า ทั้ง 3 เพจ มีการให้ข้อมูลเชิงลึกนำเสนอข้อเท็จจริงและประสบการณ์ด้านการศัลยกรรม มีช่วงเวลาการนำเสนอไม่ตายตัว มีความเข้าใจความต้องการของแฟนเพจ มีความสม่ำเสมอในการใช้เฟซบุ๊ก เผยแพร่ข้อมูล ยกเว้นเพจ Vanrisa Namirach (Nokky) ที่มีกลุ่มตัวอย่างให้ความคิดเห็นว่ายังไม่มีการให้ข้อมูลเชิงลึก5) ด้านความสัมพันธ์กับแฟนเพจ พบว่า ทั้ง 4 เพจ ยังไม่มีความเป็นกลางในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการศัลยกรรม อีกทั้งเพจพิเชษฐ์ ผดุงนานนท์ และเพจ Vanrisa Namirach (Nokky) ไม่มีการสร้างความเป็นกันเองกับแฟนเพจ กระบวนการตัดสินใจทำศัลยกรรมจากการติดตามผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อออนไลน์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านการประเมินทางเลือกมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบข้อมูลจากหลายที่ ไม่ได้รับข้อมูลจากผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อออนไลน์เพียงทางเดียวรองลงมา คือ ด้านการรับรู้ ความต้องการ/ปัญหาส่วนใหญ่ไม่มีความบกพร่อง แต่มีความต้องการทำศัลยกรรมเพราะบุคคลใกล้ชิดด้านการตัดสินใจปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจคือราคาและด้านการค้นหาข้อมูล ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลครบถ้วนเรื่องสถานที่ศัลยกรรม ราคา ผู้เชี่ยวชาญ ความปลอดภัย และผลการศัลยกรรม ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะทางประชากรที่ประกอบด้วยเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก และคุณลักษณะความน่าเชื่อถือของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อออนไลน์ที่ประกอบ ด้วยบุคลิกภาพ ความโด่งดังเป็นที่รู้จัก ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และความสัมพันธ์ของแฟนเพจ มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจทำศัลยกรรมความงามของวัยรุ่นไทยแนวทางสำหรับผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อออนไลน์คือ ต้องเป็นกลางในการนำเสนอข้อมูล มีวิธีการพูดหรือเขียนที่น่าสนใจ ทันสมัย และมีความสม่ำเสมอในการนำเสนอข้อมูล ตลอดจนมีข้อมูลที่หลากหลายครบถ้วนชัดเจนง่ายในการใช้ตัดสินใจ
References
กมลกานต์ จีนช้าง. (2553). อิทธิพลของความนิยมความสมบูรณ์แบบต่อเจตคติในการทำศัลยกรรมเสริมความงาม โดยมีการนำเสนอตนเองด้วยความสมบูรณ์แบบและการซึมซับจากวัฒนธรรมสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
กติกา สายเสนีย์. (2554). Social Network คืออะไร. สืบค้นจากhttp://keng.com/2008/08/09/ what-is-social-networking/.
กรีชาติ พรสินศิริรักษ์. (2552). สถิติการทำศัลยกรรมของวัยรุ่นไทย. สืบค้นจาก https://www.dekd. com/lifestyle/17903/.
ขนิษฐา สุขสบาย. (2555). รูปแบบการสื่อสารการตลาดของบิวตี้ บล็อกเกอร์บนสังคมออนไลน์.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
จิดาภา ทัดหอม. (2558). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ความไว้วางใจและคุณภาพของระบบ สารสนเทศที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
เชาวเลิศ มากสมบูรณ์. (2539). กระบวนการทำศัลยกรรมเสริมความงาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ณรงค์ศักดิ์ บุณยมาลิก. (2536). อิทธิพลของสถานการณ์ระดมคนและจิตลักษณ์ที่มีต่อการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ณิชชา ชัยปฏิวัติ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการศัลยกรรมบนใบหน้าของผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
ทรงพล เหล่าเทิดพงษ์ วาทิต มูลมาวัน และเฉลิมพล มหากันธา. (2554). 1 วันกับพฤติกรรมการสื่อสาร “เฟซบุ๊ก”. สืบค้นจาก http://doctorkohmagic.blogspot.com/2012/05/1-gc3101-2554-1-100-1.html.
ธัญชนก สุขแสง. (2556). ค่านิยมและอิทธิพลจากบุคคลที่ส่งผลกระบวนการตัดสินใจศัลยกรรม ความงาม. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
นิวัฒน์ ชาตะวิทยากูล. (2559).แนะนำวิธีเลือกใช้ Social Media ให้เหมาะกับกลยุทธ์การตลาด พ.ศ. นี้. สืบค้นจาก http://www.digithun.com/social-media-strategy/
นิตนา ฐานิตธนกร, และปรัศนียาภรณ์ สายปิมแปง. (2556). Beauty Blogger: ผู้ทรงอิทธิพลด้านความงามบนโลกออนไลน์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 27(81), 109 - 124.
แบรนด์ บุฟเฟต์. (2561). สถิติผู้ใช้ดิจิทัลทั่วโลก “ไทย” เสพติดเน็ตมากที่สุดในโลก-“กรุงเทพ” เมืองผู้ใช้ Facebook สูงสุด. สืบค้นจากhttps://www.brandbuffet.in.th/2018/02/global-and-thailand-digital-report-2018/.
พิชยา วัฒนะนุกูล และวาสนา ผิวขม.(2560). พฤติกรรมและปัจจัยการใช้สมาร์ทโฟนในกลุ่มวัยรุ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
แพร ไกรฤกษ์. (2558). อิทธิพลของบิวตี้บล็อกเกอร์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมความงามของสตรีไทยในยุคสื่อสังคมออนไลน์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ศศิธร สุริยะพรหม. (2552). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการคลินิกเสริมความงามและดูแลผิวพรรณของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
อารีรัตน์ สุรอมรรัตน์. (2555). ความเป็นผู้นำทางความคิดของบล็อกเกอร์ด้านความงามกับการรับรู้ทัศนคติและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ด้านความงามของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
Hovland, C.I., and Weiss, Walter. (1951). The Influence of Source Credibility on Communication Effectiveness. Public Opinion Quarterly, 633-50.
Kotler, P & Armstrong, G. (1991). Principle of marketing. New Jersey : Prentice - Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว