การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พัทธ์ธีรา สถิตย์ภาคีกุล มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • อนันต์ ธรรมชาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เกียรติชัย วีระญาณนนท์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน, สภาพปัญหา, การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหาและปัจจัยส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ปัจจัยคุณลักษณะองค์กร ปัจจัยการบริหารองค์กร และปัจจัยประสิทธิภาพองค์กร ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถามจำนวน 226 บริษัท และเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิได้แก่ ผู้บริหารผู้จัดการและหน่วยงานภาครัฐจำนวน 19 คน พบว่า 1) สภาพการณ์ปัจจุบันและการแก้ไขปัญหาการใช้พลังงานทดแทนต้องประสานและร่วมมือกันสร้างจิตสำนึกให้ความรู้แก่บุคลากรทำให้เศรษฐกิจขยายตัว เพิ่มผลผลิตและประสิทธิผล 2) ความสำเร็จของธุรกิจอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนแตกต่างกันจำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะองค์กรด้านจำนวนพนักงาน ระยะเวลาดำเนินกิจการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ พบว่าปัจจัยการบริหารองค์กร ร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของความสำเร็จของธุรกิจอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนในประเทศไทย ได้ร้อยละ 48 ในขณะที่ปัจจัยด้านกลยุทธ์ ปัจจัยด้านทักษะความชำนาญ และปัจจัยด้านระบบ ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ และพบว่า ปัจจัยประสิทธิภาพของธุรกิจ ร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของความสำเร็จของธุรกิจอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนในประเทศไทยได้ร้อยละ 61 โดยพบว่า ปัจจัยด้านต้นทุน คุณภาพ เวลา และด้านปริมาณ มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ 3) กลยุทธ์เชิงรุก พัฒนาอย่างต่อเนื่องนำเทคโนโลยีที่รวดเร็วทันสมัย สามารถเพิ่มผลผลิตและต้นทุนการผลิตต่ำลง กลยุทธ์เชิงป้องกัน การกระจายตัวของโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทำให้ไม่มีการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง เงินจึงไม่ไหลออกนอกประเทศ กลยุทธ์เชิงแก้ไข สามารถเพิ่มผลผลิตและใช้พลังงานทดแทนได้ตลอดเวลา กลยุทธ์เชิงรับ การผลิตพลังงานทดแทนสามารถขนส่งเชื้อเพลิงและลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนได้ ทำให้มีการขยายกำลังการผลิต ก่อให้เกิดการจ้างงานและธุรกิจภายในพื้นที่นั้น

References

ควรคิด ชโลธรรังสี. (2542). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสุขาภิบาล จังหวัดอุบลราชธานี. (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกระทรวงพลังงาน. (2555.) สถานการณ์พลังงานและการใช้พลังงานต่อสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก http://www.thailandenergyeducation.com.

สุมิตตรา เจิมพันธ์. (2552). ความสำเร็จของการนำนโยบายประหยัดพลังงานไปปฏิบัติในภาคราชการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สมพร แสงชัย. (2561). วิวัฒนาการแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 14,(2), 97.

อานนท์ พ่วงชิงงาม, บัญชา หงษ์ปรีชา, วิชิต เครือสุข, กิตติ ติรวรรณวิทย์, ฤทธิรงค์ อินทรจินดา, ระพีพัฒน์ ภาสบุตร, และวรรณรัตน์ ปัดรประกร. (2555). การศึกษาความเป็นไปได้ของการปรับแต่งมอเตอร์เหนี่ยวนำสำหรับพลังงานทดแทนในประเทศไทย. ในการประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 (น.45-68). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นจาก http://www.sar.rmutt.ac.th/sar55/?wpfb_dl=7872.

Bradshaw Amanda. (2018). Electricity Market Reforms and Renewable Energy: The Case of Wind and Solar in Brazil. (Ph.D. Dissertation, Columbia University).

Camarota Anton. (2011). Exploring the Elements of Sustainability Management in the Solar Photovoltaic Industry. (Ph.D. Dissertation, The Northcentral University).

Cert; & Peter. (1991). Strategic Management: Concepts and Applications. New York: McGraw-Hill.

Fang Meng. (2018). The Green Economy under the WTO Regime: Policy Space for Renewable Energy Support Mechanisms. (Ph.D. Dissertation, the Chinese University of Hong Kong).

Francis J. Aguilar. (1967). การวิเคราะห์ปัจจัยระดับมหภาค. New York: Macmillan.

Glandon Ekaterina. (2014). Does energy mix matter? Assessment of the impacts of renewable energy on environmental sustainability outcomes in selected OECD countries. (Master’ thesis, The Georgetown University).

Jeong Minji. (2017). National Renewable Energy Policy in a Global World. (Ph.D. Dissertation, The University of Marylan).

Kaplan, R.S. & Norton. (1996). Using the balanced scorecard as strategic management system. Harvard Business Review, January/February, 75-85. Retrieved from https://maaw.info/ArticleSummaries/ArtSumKaplanNorton96.htm

Kaygusuz, K. (2010). Sustainable energy, environmental and agricultural policies in Turkey. Energy Conversion and Management, 51(5), 1075-1084.

Kedron Peter. (2012). An Analysis of the Evolution of Renewable Energy Production: The Role of Firms, Institutions, and Markets. (Ph.D. Dissertation, State University of New York at Buffalo).

Luther Gulick. (1937). รูปแบบการบริหารจัดการ 7 ประการ (POSDCORB). Retrieved from https://www.iok2u.com/index.php/article/e-book/238-luther-gulick-7- posdcorb

McKinsey. (1980). แนวคิดการบริหารองค์กร (McKinsey7-S Framework). Retrieved from https://www.gotoknow.org/posts/461173

Millet. (1954). แนวคิดประสิทธิภาพ. Retrieved from http://learningofpublic. blogspot.com/2015/09/blog-post_51.html

Peterson, E. & Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management. Homewood, Illinois, United States: R.D. Irwin.

Waterman, Peter; & Phillips. (1980). แนวคิดของแมคคินซีย์ (McKinsey 7-S Framework). Retrieved From https://en.wikipedia.org/wiki/McKinsey_7S_Framework.

Wheelen & Hunger. (2008). แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์. Retrieved from www.researchgate.net.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-16