ศึกษาทัศนคติที่มีต่อสินค้าออร์แกนิค รูปแบบการตัดสินใจซื้อ คุณค่าที่รับรู้ที่มีผลต่อแนวโน้มความตั้งใจซื้อสินค้าทารกและเด็ก ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุทธิลักษณ์ เมืองนาคิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ปณิศา มีจินดา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

คุณค่าที่รับรู้, การสื่อสารทางการตลาด, ทัศนคติที่มีต่อสินค้าออร์แกนิค, แนวโน้มความตั้งใจซื้อในอนาคต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการตัดสินใจซื้อ คุณค่าที่รับรู้ การสื่อสารทางการตลาด และทัศนคติต่อสินค้าออร์แกนิคที่มีต่อแนวโน้มความตั้งใจซื้อในอนาคต 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มความตั้งใจซื้อในอนาคต โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ จากผู้ที่ซื้อสินค้าแม่และเด็ก (น้ำยาซักผ้าเด็ก) จำนวน 384 ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง คือ เฉพาะผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของแบรนด์ละมุน ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มคุณแม่ที่ซื้อน้ำยาซักผ้าเด็กในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 30 ปี - 39 ปี ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี และรายได้ครอบครัวต่อเดือน 50,000 บาทขึ้นไป 2) ความเชื่อมั่นในแบรนด์ออร์แกนิค คุณค่าที่รับรู้คุณค่าทางสังคม และรูปแบบการตัดสินใจซื้อด้านเลือกซื้อแบรนด์เดิมเป็นประจำมีอิทธิพลต่อแนวโน้มความตั้งใจซื้อในอนาคต 3) ปัจจัยส่วนบุคคลทางด้าน อายุ และ ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีแนวโน้มความตั้งใจซื้อในอนาคตที่แตกต่างกัน

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คุ้มฟ้า อู่วิเชียร. (2558). อิทธิพลของคุณค่าที่รับรู้ด้านคุณภาพ คุณค่าที่รับรู้ ด้านราคา และภาพลักษณ์ ตราสินค้าต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจของลูกค้า การบอกต่อ และการกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้าบริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน). (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์ม และไซเท็ก จำกัด.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211.

Bovee, C. L., Houston, M. J. & Thill, J. V. (1995). Marketing (2nd ed.). London: McGraw-Hill.

Morgan, R. M. & Hunt, S. D. (1994). The commitment-trust theory of relationship marketing. Journal of Marketing, 58, 20-38.

Papagiannidis, S., See-to, E., & Bourlakis, M. (2014). Test-driving online: The impact of simulated products on purchase intention. Journal of Retailing and Consumer Services, 21(2), 877-887.

Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (2007). Consumer Behavior (9th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Sproles, G. B. & Kendall, E. L. (1986). A methodology for profiling consumers’ decision-making styles. The Journal of Consumer Affair, 20(2), 267-279.

Zeithaml, V. A. (1988). Consumer perceptions of price, quality and value: A means end model and synthesis of evidence. Journal of Marketing, 52, 2-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-16