พฤติกรรมและทัศนคติในการรับชมรีวิวการท่องเที่ยวออนไลน์ที่มีผลต่อ ความตั้งใจมาท่องเที่ยว 15 สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ ของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา วังศิริไพศาล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • นาถรพี ตันโช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ทัศนคติ, การรับชมรีวิวการท่องเที่ยว, ความตั้งใจมาท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติในการรับชมรีวิวการท่องเที่ยวออนไลน์ที่มีผลต่อความตั้งใจมาท่องเที่ยว 15 สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ ของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ กลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมในการรับชมรีวิวการท่องเที่ยว ได้แก่ ด้านการแสวงหาข้อมูล ด้านการเปิดรับข้อมูล และด้านการเปิดรับประสบการณ์ มีผลต่อความตั้งใจมาท่องเที่ยว 15 สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ ของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และทัศนคติในการรับชมรีวิวการท่องเที่ยวออนไลน์ ได้แก่ ด้านความเข้าใจ ด้านความรู้สึก และด้านพฤติกรรม มีผลต่อความตั้งใจมาท่องเที่ยว 15 สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ ของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/download/ImplementationOfThePolicy/ NotificationOfTheNationalTourismPolicy.PDF

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานสถิติการท่องเที่ยวประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=414

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง. (2556). เล่าให้คลิกพลิกแบรนด์ให้ดัง. กรุงเทพฯ : เนชั่นบุ๊คส์.

เนตรดาว อยู่ยง. (2559). การเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวตลาดน้ำคลองลัดมะยมของนักท่องเที่ยวชาวไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

พัชนี เชยจรรยา. (2558). ปัจจัยพยากรณ์การบอกต่อข่าวสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคกลางในสื่อสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยว. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต, 9(2), 35 - 61.

พิชชานันท์ ช่องรักษ์ และเจริญชัย เอกมาไพศาล. (2553). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาพลักษณ์อาหารริมทาง ทัศนคติต่อจุดหมายปลายทาง การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และความตั้งใจกลับมาจุดหมายปลายทางซ้ำของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา ย่านเยาวราช. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 9(17), 1 - 20

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2561). รายงานผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2018.html

สุรีย์ บุญญานุพงษ์ และวิลาวัณย์ หงษ์นคร. (2552). องค์ความรู้จากความสำเร็จในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เอกสารวิชาการโครงการศูนย์บริการวิชาการและพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อภิชญา ณัฐพงศ์พฤทธิ์ และพัชนี เชยจรรยา. (2559). รูปแบบการดำเนินชีวิต การรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ ความน่าเชื่อถือและพฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศ. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2559 คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ (น. 271-288). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Becker, S. L., & Roberts, C. L. (1992). Discovering mass communication (3rd ed.). New York: Harper Collins.

Belch, G. E., & Belch, M. A. (2012). Advertising and promotion: An integrated marketing communications perspective (9th ed.). New York: McGraw-hill.

Bovee, C. L., Houston, M. J., & Thrill, J. V. (2015). Marketing. New York: McGraw-hill.

Das, G. (2014). Linkages of retailer personality, perceived quality and purchase intention with retailer loyalty: A study of Indian non-food retailing. Journal of Retailing and Consumer Services, 21(3), 407 - 414.

Gefen, D., Karahanna, E., & Straub, D. W. (2003). Trust and TAM in online shopping: An integrated model. MIS Quarterly, 27(1), 51 - 90.

Gibson, J. L. (2000). Organizations behavior (7th ed). Boston: lrwin.

Kim, S., & Pysarchik, D. T. (2004). Predicting purchase intentions for uni-national and Bination products. International Journal of Retail & Distribution Management, 28(6), 280 - 292.

Schiffman, L. G., Kanuk, L. L., & Wisenblit, J. (2012). Attitude theory consumer behavior. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Solomon, M. R. (2013). Customer behavior: Buying, having, and being (10th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-16