บทบาทและภาวะผู้นำของพลเรือตรีอาภากร อยู่คงแก้ว กรณีศึกษา ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน
คำสำคัญ:
ผู้นำ, ภาวะผู้นำ, หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ, กองเรือยุทธการ, วนอุทยานถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน, ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวงบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องบทบาทและภาวะผู้นำของพลเรือตรีอาภากร อยู่คงแก้ว กรณีศึกษาปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและภาวะผู้นำรวมทั้งแนวทางในการพัฒนาการเป็นผู้นำของพลเรือตรีอาภากร อยู่คงแก้ว จากกรณีปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน โดยรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทและภาวะผู้นำของพลเรือตรีอาภากร อยู่คงแก้ว สอดคล้องกับแนวคิดผู้นำเชิงสถานการณ์ (situational approach) โดยมีรูปแบบภาวะผู้นำตามทฤษฎีผู้นำเชิงปฏิรูป (transformational leadership theories) เป็นผู้นำที่เน้นการปรับสภาพการนำ การบริหารงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และมีคุณลักษณะของการเป็นผู้นำที่ดี 2) แนวทางในการพัฒนาการเป็นผู้นำของ พลเรือตรีอาภากร อยู่คงแก้ว เริ่มต้นเส้นทางในการพัฒนามาตั้งแต่ภูมิหลังในวัยเด็ก การศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ องค์กรและลักษณะงานของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ตลอดจนการเป็นทหาร การรับราชการในกองทัพเรือ ที่มีส่วนสำคัญในการหล่อหลอมและพัฒนาการเป็นผู้นำ 3) ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการเป็นผู้นำในภารกิจปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน ของพลเรือตรีอาภากร อยู่คงแก้ว เกิดจากสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน มีวิกฤต มีความเสี่ยง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาพแวดล้อม สภาพอากาศ ตลอดจนอุปสรรคด้านการปฏิบัติภารกิจที่ยากลำบาก และปัญหาจากการสื่อสาร ซึ่งต้องมีการทำงานร่วมกันกับผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วน ภายใต้ความกดดันของสถานการณ์ซึ่งต้องเผชิญเหตุการณ์ต่าง ๆ การตัดสินใจ และการบริหารจัดการกับทุกสถานการณ์ที่ผ่านเข้ามา โดยยึดหลักความปลอดภัยเป็นสำคัญ
References
กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (วท.กห.). (2558). ลักษณะของความเป็นผู้นำทางทหารและหลักการของการเป็นผู้นำ. สืบค้นจากhttp://www.sonsue.com/heart.php
ฉัตรฤทัย อินทุโศภน. (2559). อิทธิพลของภาวะผู้นำการปฏิรูปและจิตสาธารณะที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การใน รด.จิตอาสา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(3), 86-99.
ณัฐวัสส์ ศิริเขตต์. ประจำแผนกวิทยากร หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ.
(2562). ความประทับใจในถ้ำหลวงที่มีต่อผู้นำการปฏิบัติการถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน.[วัสดุบันทึกเสียง]. เชียงราย.
ธรรญชนก ศรีทิพย์รัตน์. (2557). ภาวะผู้นำกระบวนการในการวางแผน การประสานงานและการ ทำงานในองค์กร กรณีศึกษา: พนักงานบริษัทเทเลคอม ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ธีรนันท์ นันทขว้าง. (2549). ทหารกับภาวะผู้นำ. สืบค้นจาก http://tortaharn.net/contents/index. php?option=com_content&task=view&id=73&Itemid=75
พิจักษณา วงศาโรจน์. (2557). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่พึงประสงค์. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ภัคภณ สนิทสม และณัฐพล จารัตน์. (2558). คุณลักษณะผู้นำทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพไทย (Military Leadership Attributes for Royal Thai Armed Force). วารสารนักบริหาร, 35(1), 75-79.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2559). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา (LEADERSHIP: THEORIES, RESEARCH, AND APPROA). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วุฒิชาติ บุสุวะ, เจ้าหน้าที่อาวุโส ระดับ 5 ฝ่ายรักษาความปลอดภัย ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. (2562). กำลังใจสำคัญจากท่านผู้นำปฏิบัติการถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน. [วัสดุบันทึกเสียง]. เชียงราย.
ศิลปานันต์ ลำกูล. (2555). บทบาทของกองทัพไทยในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย : บทสำรวจปัญหาและแนวคิดในการแก้ไข. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10 (ฉบับพิเศษ), 35-50.
สันติสุข ศรีเมือง. (2559). แนวทางการพัฒนาจิตลักษณะที่พึงประสงค์ทางการทหาร ของพลทหารกองประจำการ มณฑลทหารบกที่ 33. สืบค้นจาก http://jsc.rtarf.mi.th/research/sum_research/JSC_57/JSC5780.pdf
สุวกิจ ศรีปัดถา. (2555). ภาวะผู้นำกับการตัดสินใจ. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 1(1), 1-23.
อนันต์ สุราวรรณ์. เสนาธิการ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ. (2562). ความรู้สึกของผู้ร่วมงานต่อพลเรือตรีอาภากร อยู่คงแก้ว ในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน. [วัสดุบันทึกเสียง]. เชียงราย.
อาภากร อยู่คงแก้ว. ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ. (2562).
ความรู้สึกของพลเรือตรีอาภากร อยู่คงแก้ว ในฐานะผู้นำปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน. [วัสดุบันทึกเสียง]. เชียงราย.
Bass. B.M. & Avolio. B.J. (1994). Improving organization effectiveness through transformation Leadership. Thousand Oaks: Sage.
Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper and Row.
Fiedler, Fred. E.A. (1976). Theory of Leadership Effectiveness. New York: McGraw-Hill.
Hersey, P. and Blanchard, H. B. (1988). Management of Organizational Behavior: Utilizing Human Resources. Englewood, Boston: PWS-Kent.
Robert J. House., Jane M. Howell.Personality and Charismatic leadership.
Retrieved form https://www.sciencedirect.com/science/article/ pii/104898439290028E.
The Air University. (n.d.). Marine corps Leader trait. Retrieved form http://www.au.af. mil/au/awc/awcgate/usmc/leadership_trait.htm.
Van, W.M. (2003).Public Sector Leadership Theory: An Assessment. Public Administration Review, 63(2), 214-228.
Vroom, V.H. and Yetton, P.W. (1973). Leadership and Decision Making. Pittsburght, PA: University of Pittsburght Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว