การวิเคราะห์การมีส่วนร่วมในมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายช่วงวันหยุด: กรณีศึกษา รายจ่ายทางด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สันติกร ภมรปฐมกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • คฑาวุธ เจียมบัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์การมีส่วนร่วม, มาตรการภาษีวันหยุด, มาตรการภาษีการท่องเที่ยว, ปทุมธานี

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก ศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมทางด้านการท่องเที่ยว ลักษณะประชากรศาสตร์ การมีส่วนร่วมในมาตรการภาษี ตลอดจนการใช้จ่ายทางด้านการท่องเที่ยว และประการที่สอง วิเคราะห์ผลกระทบมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายช่วงวันหยุดที่มีต่อการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดปทุมธานีที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุตัวแปร ผลการศึกษาในลำดับแรก พบว่า การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันของพฤติกรรมทางด้านการท่องเที่ยว ลักษณะประชากรศาสตร์ การมีส่วนร่วมในมาตรการภาษี และการใช้จ่ายทางด้านการท่องเที่ยว พบว่า ค่าสัมบูรณ์ของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งหมด มีค่าอยู่ระหว่าง 0.187 ถึง 0.410 ลำดับที่สองพบว่า ปัจจัยพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานีที่มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลเพื่อการท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และปัจจัยทางด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวสามารถอธิบายค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลเพื่อการท่องเที่ยวได้ร้อยละ 44.7 และลำดับสุดท้ายนั้นการมีส่วนร่วมในการขอคืนเงินภาษีจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายไม่มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลเพื่อการท่องเที่ยว ทั้งนี้ภาครัฐควรหันมาให้ความสำคัญการมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีในบางประเด็นที่เป็นปัจจุบัน ในการพัฒนาการวิจัยสามารถการปรับชุดตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา การศึกษามาตรการภาษีด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ตลอดจนการท่องเที่ยวเมืองรอง

References

กฎกระทรวง ฉบับที่ 310. (2558). ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร. สืบค้นจาก https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/mr310.pdf

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมการท่องเที่ยว. (2558). สถานการณ์นักท่องเที่ยวปี 2557 และแนวโน้มปี 2558. สืบค้นจาก http://secretary.mots.go.th

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th

เกล็ดดาว หมอกเมือง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

คฑาวุธ เจียมบัว. (2561). ภาษีบุหรี่มีผลต่อการใช้จ่ายจริงหรือ? (DOES THE US CIGARETTE TAX IMPOSED ON TOBACCO EXPENDITURE WORK?). RMUTT Global Business Accounting and Finance Review (GBAFR), 2(1), 33-46.

คณาจารย์สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. (2560). เศรษฐศาสตร์มหภาค 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน ทีพีเอ็น เพรส.

จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา. (2562). มาตรการภาษีที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการผลิตและการค้าพลอยสีของไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 39 (3), 43-55.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2548). การวางแผนและพัฒนาตลาดท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชวลิต ทับสีรัก. (2554). ตัวแปรเชิงคุณภาพกับการวิเคราะห์การถดถอย. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหารสารคาม, 17(1), 31-42.

ดวงใจ จิวะคุณานันท์. (2561). อิทธิพลของ Reviewer ในสื่อออนไลน์กับการตัดสินใจเลือกเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดที่เป็นจุดหมายปลายทางในประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ทักษิณา คุณารักษ์. (2544). ปัจจัยในการเลือกแหล่งท่องเที่ยวและที่พักของเยาวชนไทย กรณีศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ธนาคารแห่งประเทศไทย (2559). แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2559.

สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/PressRelease/PressRelease2557/PressThai_February2559_YING9.pdf

ธนาคารแห่งประเทศไทย (2563). ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2563. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Documents/PhraSiam0163/CoverStory1_63.pdf

พงศ์เสวก เอนกจำนงค์พร. (2558). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นเบบี้บูมในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

พิทักษ์ ศิริวงศ์ และคณะ. (2559). แผนงานวิจัยการยกระดับการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพในภูมิภาคตะวันตกของนักท่องเที่ยวสูงอายุเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สืบค้นจาก https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG5750064

นาถรพี ชัยมงคล, สันติกร ภมรปฐมกุล และ คฑาวุธ เจียมบัว. (2558). อัตราแลกเปลี่ยนมีผลต่อการขยับราคาน้ำมันดิบจริงหรือ (ARE CRUDE OIL PRICE AND EXCHANGE RATE REALLY MAJOR CAUSES OF THE MOVEMENT IN THE THAI RETAIL GASOLINE PRICE?). RMUTT Global Business and Economics Review, 10(1), 145-156.

เนาวรัตน์ พลายน้อย และคณะ. (2538). พฤติกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย. เสนอต่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. นครปฐม : โรงพิมพ์สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียนมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา.

รังสิมา อุ่นโสภา. (2560). ปัจจัยภาพลักษณ์ การคมนาคมและการประชาสัมพันธ์ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวที่ตำบลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2554). แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ กรณีศึกษาพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554; “การพัฒนาอนาคตชนบทไทย : ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน”(189-193). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วราพร เปรมพาณิชย์นุกูล. (2561). ผลกระทบของความรอบรู้ในการวางแผนภาษีที่มีต่อประสิทธิภาพ การวางแผนภาษีของผู้บริหารฝ่ายบัญชีธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 11(1), 106-123.

มาศศุภา นิ่มบุญจาซ. (2558). การศึกษาองค์ประกอบการท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีผลต่อความยั่งยืนทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเขาสันหนอกวัว (อุทยานแห่งชาติเขาแหลม). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สรชัย พิศาลบุตร. (2549). การสร้างและประมวลข้อมูลจากแบบสอบถาม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). สถิติประชากรไทย 2557. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์.

สัตยา ตันจันทร์พงศ์ และ ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์. (2562). ผลกระทบของการวางแผนภาษีต่อต้นทุนหนี้ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 32(2), 104-120.

อัครพงศ์ อั้นทอง. (2555). เศรษฐมิติว่าด้วยการท่องเที่ยว. เชียงใหม่: ล็อคอินดีไซน์เวิร์ค.

Christer Trane & Eivind Farstad. (2011). Domestic tourism expenditure: The non-linear effects of length of stay and travel party size. Tourism management, 32, 46-52.

Downward, P., & Lumsdon, L. (2000). The demand for day-visits: an analysis of visitor spending. Tourism Economics, 6(3), 251-262.

Downward, P., & Lumsdon, L. (2003). Beyond the demand for day-visits: an analysis of visitor spending. Tourism Economics, 9(1), 67-77.

Downward, P., & Lumsdon, L. (2004). Tourism transport and visitor spending: a study in the North York Moors National park, UK. Journal of Travel Research, 42(4), 415-420.

Hanna, N. & Wozniak, R. (2001). Consumer behavior: An applied approach. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Herbert I. Weisberg (2010), Bias and Causation: Models and Judgment for Valid Comparisons. England: John Wiley & Sons Inc.

Kastenholz, E. (2005). Analysing determinants of visitor spending for the rural tourist

market in North Portugal. Tourism Economics, 11(4), 555–570.

Kozak, M., Gokovali, U., & Bahar, O. (2008). Estimating the determinants of tourist

spending: a comparison of four models. Tourism Analysis, 13(2), 143-156.

Leavitt, H. J. (1951). Some effects of certain communication patterns on group performance. The Journal of Abnormal and Social Psychology, 46(1), 38-50.

United Nation. (2008). Tourism Satellite Account: Recommended Methodological

Framework 2008. Retrieved from https://www.oecd.org/cfe/tourism/TSA_EN.pdf

Wang, Y., Rompf, P., Severt, D., & Peerapatdit, N. (2006). Examining and identifying the

determinants of travel expenditure patterns. International Journal of Tourism Research, 8(5), 333-347.

Wooldridge, J.M. (2010). Econometric Analysis of Cross Section and Panel Data (Second Edition). London, England: The MIT Press.

Wooldridge, J.M. (2006). Introduction Econometrics: A Modern approach (Third edition). Mason OH, USA: Thomson-South-Western.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (Third edition). New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-16