การพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ อย่างยั่งยืน: ศึกษากรณี ชุมชนชาวมอญจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน, สื่อการประชาสัมพันธ์, ชุมชนชาวมอญ, จังหวัดปทุมธานีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความพร้อมและศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยว 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการใช้สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อย่างยั่งยืน และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนในชุมชนชาวมอญ จังหวัดปทุมธานี วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กับประชาชนชาวจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวมรวมข้อมูลโดยทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผู้นำชุมชนชาวมอญ หน่วยงานภาครัฐในชุมชนชาวมอญ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และประชาชนเชื้อสายมอญในชุมชน จำนวน 15 คน แล้วทำการวิเคราะห์ตีความแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า ทรัพยากรท่องเที่ยวของจังหวัดปทุมธานี ในส่วนของชุมชนมอญ มีศักยภาพสูง มีความโดดเด่นด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านวิถีชีวิต ด้านประวัติศาสตร์ ด้านโบราณสถานและโบราณวัตถุ ตลอดจนเส้นทางการท่องเที่ยวที่มีความน่าสนใจ แต่ประเด็นปัญหาที่พบคือประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดปทุมธานีเอง ประชาชนยังรับรู้ข้อมูลในส่วนของชาวไทยเชื้อสายมอญค่อนข้างน้อย มีผู้ตอบแบบสอบถามกว่าร้อยละ 31.5 ที่ไม่ทราบว่าในจังหวัดปทุมธานีมีชุมชนมอญอาศัยอยู่ ดังนั้นแนวทางการพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในระยะแรกจึงควรเริ่มที่การสร้างการดึงดูดใจ (Attention) และความสนใจ (Interest) โดยสื่อที่ทางผู้วิจัยได้จัดทำขึ้น คือ สื่อวีดิทัศน์เผยแพร่เรื่องราววิถีชีวิตของชุมชนมอญ เพื่อเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) และสื่อสิ่งพิมพ์ (Print Media) ในลักษณะแผ่นพับ เพื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวที่น่าสนใจของชุมชนมอญ โดยผลการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ และกลุ่มเป้าหมายในการรับสื่อ จำนวน 200 คน พบว่าประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.10 อยู่ในระดับมาก และประสิทธิภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.81 อยู่ในระดับมาก
References
กัลยาณี ตันตรานนท์. (2562). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์การให้บริการอนามัยโรงเรียน. วารสารพยาบาล ทหารบก, 20(1), 293-299.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2544). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สืบค้นจาก http://www.tat.or.th.
คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา. (2552). การศึกษาแรงจูงใจของเยาวชนไทยต่อการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย).
ชนกพล ชัยรัตนศักดา. (2556). ประสิทธิภาพของสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).
ณัตพร วรคุณพิเศษ. (2556). การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2), 48-58.
ติกาหลัง สุขกุล. (2558). การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวของพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 98-120.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). มารู้จักหนังสือท่องเที่ยวเชิงนิเวศกันเถอะ. จุลสารการท่องเที่ยว,18(1), 9.
บุปผา วงษ์พันธุ์ทา. (2544). การประเมินศักยภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ประจักษ์ กึกก้อง. (2560). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการปลูกกล้วยไข่อย่างมีคุณภาพ ของเกษตรกรในจังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.
เปรมศักดิ์ อาษากิจ. (2558). การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการท่องเที่ยวบ้านสันต้นเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(42), 211-227.
พรหมเมธ นาถมทอง. (2540). กระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น: กรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยวในเขตอําเภอเมือง จังหวัดนครนายก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
พีระ จิรโสภณ. (2529) . ทฤษฎีการสื่อสารมวลชนเกี่ยวกับผูรับสาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พงษ์ วิเศษสังข์. (2551). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 8). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัย กรุงเทพ.
พัชราภา ขาวบริสุทธิ์. (2561). การพัฒนาระบบการประชาสัมพันธ์ของเทศบาลเมืองอ่างทอง. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 315-325.
พูนทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธ์. (2544). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์และร้อยเอ็ด. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ยศ สันตสมบัติ. (2544). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการจัดการทรัพยากร. กรุงเทพฯ: โครงการ BRT.
ยุวดี นิรัตน์ตระกูล. (2538). ECOTOURISM การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. จุลสารการท่องเที่ยว. 10(3), 8.
รวีพร จรูญพันธ์เกษม. (2560). การพัฒนาสื่อวีดีทัศน์ประชาสัมพันธ์โครงการ Elephant Haven Thailand. ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 “ราชมงคลสร้างสรรค์กับนวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0” (น.198-203). นนทบุรี: ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี.
วรรณพร บุญญาสถิตย์. (2561). กุศโลบายที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งของชุมชนมอญในจังหวัด ปทุมธานี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 9(2), 14-31.
วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2529). ผลกระทบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อมรดกศิลปวัฒนธรรม. จุลสารการท่องเที่ยว, (42).
วีรวัฒน์ วงศ์ศุปไทย. (2555). ปทุมรามัญญธานีเทิดไท้องค์ราชันย์ ไทยรามัญย้อนรำลึกชนชาติมอญ. ปทุมธานี: องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี.
ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2542). โครงการศึกษาการท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศ: กรณีภาคใต้. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ศรชัย ไทรชมพู. (2548). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน วิถีชีวิตวัฒนธรรมไทยและ มอญ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2548). การโฆษณาและการสงเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ : ท้อป
เศกสรรค์ ยงวณิชย์. (2555). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน: แนวคิดหลักการและการจัดการ.ขอนแก่น : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมใจ ไข่แก้ว. (2548). การประเมินศักยภาพและความต้องการในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ของชุมชนทับบางปรุจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
สัภยา ไชยมาตย์. (2558). การผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคาม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมครั้งที่ 1 (น. 97-100). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. (2549). การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. สืบค้นจาก http://www.tourism.go.th.
อุษาวดี พลพิพัฒน์. 2545. การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน: กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนในประเทศไทย. จุลสารการท่องเที่ยว, 21(4), 38-48.
WTTC. (2015). Global benchmarking travel & tourism. Retrieved from http://www.wttc.org/ media/files/reports/benchmark%20reports/regional%20results%202015/global%20benchmarking%20report%202015.pdf.
Zeppel, H. D. (2006). Indigenous Ecotourism: Sustainable Development and Management (Tourism Studies). United Kingdom: Cromwell Press, Trowbridge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว