ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารที่ผลิตมาจากพืช (Plant-based Food) ในกรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.60101/mmr.2024.270511คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, อาหารที่ผลิตมาจากพืช, การตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านลักษณะประชากรศาสตร์ ทัศนคติ และส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารที่ผลิตมาจากพืช (Plant-based Food) ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 509 ชุด จากผู้บริโภคที่เคยรับประทานอาหารที่ผลิตมาจากพืชในเขตกรุงเทพมหานคร และมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป โดยใช้สถิติ Independent, Sample T-Test, One-way ANOVA และ Multiple Regression
ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์ด้านสถานภาพ อาชีพ และระดับการศึกษา ปัจจัยทัศนคติด้านความรู้สึก ความเข้าใจ และพฤติกรรม และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารที่ผลิตมาจากพืช (Plant-based Food) ในกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยผลของการศึกษานี้สามารถเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ และให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารที่ผลิตมาจากพืชมีความเข้าใจผู้บริโภคมากขึ้นและนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้ตรงกับความต้องการของตลาดได้
References
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี
(พ.ศ. 2560 - 2579). https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171114-oie.pdf
กุลณภัชร บุญทวี. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคีโตเจนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 36(4), 87-98.
จิรายุ พะกะยะ. (2564). ทัศนคติและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรังสิต.
จุรีพร ช้อนใจ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้พร้อมดื่มตรากรีนเมทของผู้บริโภคในจังหวัดราชบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฐิตาภรณ์ แพพ่วง. (2564). การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภค plant-based food ของกลุ่มวัยทำงาน. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นพวรรณ นุรัตน์. (2565). การตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืชของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นลินรัตน์ เตชะธนาวงศ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ค่านิยมและภาพลักษณ์ ของการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นมเพื่อสุขภาพ (Almond Milk) ในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2561). แนวคิด หลักการ และกระบวนการวิจัย เชิงปริมาณ คุณภาพและผสานวิธีเขียนวิทยานิพนธ์. ปัญญาชน.
พเยาว์ สนสาขา. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้ออาหารสดของประชาชนในเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร, วารสารรัฐศาสตร์, 1(1), 25-33.
พรภัทร ณ นคร. (2564). การศึกษากลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอมาโด้ในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
พลอยไพลิน ฉัตตะวิริยะ. (2565). พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้ออาหารจากพืช. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มณีมนต์ ประสานบุญเลิศ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทไฟเบอร์ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วัชระ สุขเกษม. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่เย็นพร้อมรับประทานผ่านร้านสะดวกซื้อของกลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. ธรรมสาร.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). โปรตีนทางเลือกเทรนด์อาหารเพื่ออนาคต เติบโตอย่างที่คิด?. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Plant-Based-FB-27-07-2022.aspx
สุภาวดี ขำมีศักดิ์. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมจากพืชของกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพฯและปริมณฑล. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุภาวดี ตั้งล้ำเลิศ. (2562) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อขนมเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
หทัยทิพย์ แดงปทิว. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทัศนคติและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อผิวขาวของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อัมพุช พวงไม้. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนในกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Burton, G. and Thakur, M. (2006). Management Today: Principles and Practice.
Tata McGraw-Hill.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). Wiley.
Kotler, P. (2003). Marketing Management (11th ed.). Prentice Hall.
Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. & Wisenblit, J. (2010). Consumer Behavior (10th ed.) Pearson Prentice Hall.
Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (2007). Consumer Behavior (9th ed.) Pearson Prentice Hall.
United States Department of Agriculture. (2022). Thailand's Food and Restaurant Trends in 2022 Report. https://fas.usda.gov/data/thailand-thailands-food-and-restaurant-trends-2022
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว