การพัฒนาแบบจาลองฟัซซีแรนดอมยูทิลิตีสาหรับการเลือกรูปแบบการเดินทาง ด้วยระบบรางของนักท่องเที่ยวระหว่างเมืองในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษา รถไฟทางคู่สายเด่นชัย – เชียงราย

Main Article Content

Wachira Wichitphongsa
Jessada Pochan
Donyarit Settasuwacha
Nattaporn Nawakitrangsan

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสารวจและวิเคราะห์พฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวในประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียน (AEC) ในปัจจุบัน รวมถึงนาเสนอปัจจัยและพัฒนาแบบจาลองการเลือกรูปแบบการเดินทาง (Mode Choice
Models) โดยนาเอาทฤษฎีฟัซซีเซต (Fuzzy Set Theory) มาประยุกต์กับทฤษฎีแรนดอมยูทิลิตี (Random Utility
Model) เพื่อที่จะลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการรับรู้ของค่าตัวแปรที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล เปรียบเทียบกับ
แบบจาลองที่กาหนดค่าในการรับรู้ของตัวแปร การศึกษานี้ได้คัดเลือกโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ สาย เด่นชัย – เชียงราย
เป็นกรณีศึกษานาร่อง โดยประยุกต์ใช้ทฤษฏีโลจิตแบบหลายทางเลือก (Multinomial Logit) โดยกลุ่มตัวอย่างเป็น
นักท่องเที่ยวตามแนวเส้นทางโครงการ จานวน 1,600 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า แบบจาลองฟัซซีแรนดอมยูทิลิตี
สามารถอธิบายพฤติกรรมการเดินทางได้ดีกว่า โดยมีค่าระดับความเหมาะสม (p2 ) อยู่ในระดับ 0.45 ซึ่งสูงกว่าการ
แบบจาลองแบบแรนดอมยูทิลิตี้ที่ระดับ 0.25 โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทาง ได้แก่ เวลาการ
เดินทางในยานพาหนะ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ความตรงต่อเวลา ระยะเวลาปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง และความ
ปลอดภัย ซึ่งผลการวิเคราะห์แบบจาลอง คาดการณ์ว่าหากมีการพัฒนารถไฟทางคู่ นักท่องเที่ยวชาวไทย เมียนมาร์ ลาว
และจีน จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ระบบรางเพื่อการท่องเที่ยวสูงถึงร้อยละ 28.85, 24.56, 32.14 และ 36.15
ตามลาดับ

Article Details

How to Cite
Wichitphongsa, W., Pochan, J., Settasuwacha, D., & Nawakitrangsan, N. (2018). การพัฒนาแบบจาลองฟัซซีแรนดอมยูทิลิตีสาหรับการเลือกรูปแบบการเดินทาง ด้วยระบบรางของนักท่องเที่ยวระหว่างเมืองในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษา รถไฟทางคู่สายเด่นชัย – เชียงราย. วารสารปาริชาต, 31(3), 185–197. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/147408
บท
บทความวิจัย