The Application of Structural Equation Modeling for The Evaluation of Cheer Meeting and Freshman Welcoming Activities, University of Phayao, 2014

Main Article Content

สุรศักดิ์ วงค์ษา

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างในการประเมินผลโครงการ และประเมินผลโครงการประชุมเชียร์และรับน้องศึกษาโดยใช้ตัวแบบการประเมินผลเชิงระบบ (System Approach Model)   เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยพะเยาจำนวน 372 คนวิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรม           PLS-Graph พบว่าปัจจัยนำเข้าสามารถอธิบายความแปรปรวนของกระบวนการดำเนินงานได้ร้อยละ 46 มีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.677 กระบวนการดำเนินงานสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลผลิตได้เพียงร้อยละ 8 มีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.281 ผลผลิตสามารถอธิบายความแปรปรวนผลลัพธ์ได้ร้อยละ 23 มีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.747 นอกจากนี้แล้วยังพบอิทธิพลทางอ้อมของปัจจัยนำเข้าต่อผลผลิตและผลลัทธ์ อีกทั้งอิทธิพลทางอ้อมของกระบวนการดำเนินงานต่อผลลัทธ์ ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99โดยสามารถนำผลที่ได้ไปปรุงปรุงการดำเนินงานด้านกิจกรรมนิสิตในอนาคต เช่น การสร้างผู้นำในการจัดประชุมเชียร์ให้เป็นผู้มีทักษะความเป็นผู้นำ มีความรู้ความสามารถและความพร้อม และการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ซึ่งจะมีส่วนให้ผลการปฏิบัติงานประสบความสำเร็จมากที่สุด

Article Details

How to Cite
วงค์ษา ส. (2016). The Application of Structural Equation Modeling for The Evaluation of Cheer Meeting and Freshman Welcoming Activities, University of Phayao, 2014. Parichart Journal, 28(3), 24–35. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/56023
Section
Research Articles