ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการมีวินัยทางการเงินของแรงงานนอกระบบในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการมีวินัยทางการเงินของแรงงานนอกระบบในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการมีวินัยทางการเงินของแรงงานนอกระบบในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิเคราะห์วิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานนอกระบบในกรุงเทพมหานคร จำนวน 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า
1. แรงงานนอกระบบมีพฤติกรรมการวินัยทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วยวินัยด้านการออม คือ การออมเงินอย่างสมํ่าเสมอ และวินัยด้านการใช้จ่าย คือการวางแผนการใช้เงินอย่างคุ้มค่าคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดในการใช้จ่ายอยู่ในระดับปานกลาง
2. ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีวินัยทางการเงินของแรงงานนอกระบบ ได้แก่ จำนวนบุคคลในอุปการะ รายได้ต่อเดือน ค่าใช้จ่ายต่อเดือน และภาระหนี้สินต่อเดือน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
Article Details
บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือในวารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (กรณีการทำวิจัยในมนุษย์ ผู้วิจัยต้องผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และนำหลักฐานมาแสดง)
References
Boonklee, B. (2009). Factors affecting financial discipline behavior among tachers: A case study of teachers in Nakhon Pathom Education Region, Area 2. Master's independent study social development, National Institute of Development Administration. [In Thai]
Bordeerat, W. (2010). Financial discipline. Retrieved January 31, 2018, from https://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/TSI-Article_PF_040.pdf [In Thai]
Branson, W. H. (1989). Macroeconomic theory and policy (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Ministry of Finance. (2017). Promotion guidelines system savings. Retrieved January 31, 2018, from https://www.moneyandbanking.co.th/new/16960/3 [In Thai]
Mothina, C. (1994). The saving behavior of working people. Master's thesis economics, National Institute of Development Administration. [In Thai]
Moonla, C. (2015). The behavior and factors affect saving for after retirement of people in Bangkok. Master's independent study business administration, Siam University. [In Thai]
National Statistical Office. (2016). Survey of informal Workers in 2016. Retrieved January 31, 2018, from https://service.nso.go.th/ nso/nsopublish/themes/files/workerOutSom59.pdf [In Thai]
Natijam, S., Saengloetuthai, J., & Photangtham, D. (2016). The guidelines for promoting insured person registration of informal labors in Nakhon Pathom. Journal of management Science, Nakhon Pathom Rajabhat University, 3(1), 17-28.
Rueksantad, J. (2012). Comparison on saving behavior between private company officers and government officers in Bangkok. Master's independent study business administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. [In Thai]
Silapajaru, T. (2007). Research and analysis of statistical data with SPSS. Bangkok: V. Interprint. [In Thai]
Thongphueng, P. (2012). Personal financial planning for retirement: A case study of school teachers under the jurisdiction of Bangkok Metropolitan Administration. Bangkok: Dhurakijpundit University. [In Thai]
Viriyanont, M. (2015). Marketing factors affect the decision to purchase life insurance of customers in Bangkok. Master's independent study business administration, Siam University. [In Thai]