การส่งเสริมพัฒนาการด้านพฤติกรรมสังคมของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการประดิษฐ์ของเล่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1).ประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 2). เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสังคมของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการประดิษฐ์ของเล่น กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่ศึกษาในระดับอนุบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งได้รับการคัดกรองพัฒนาการด้วยแบบทดสอบพัฒนาการ Denver II แล้วพบว่า มีพัฒนาการล่าช้า จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการศึกษาก่อนและหลังการทดลองคือ Wilcoxon signed rank test เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของเด็กและผู้ปกครอง แบบประเมินจุดแข็ง-จุดอ่อน (SDQ) แผนการจัดกิจกรรมการประดิษฐ์ของเล่นจำนวน 24 แผน ที่สร้างโดยผู้วิจัย และสมุดบันทึกพฤติกรรมเด็กขณะทำกิจกรรม ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ส่วนใหญ่เหมาะสมกับวัย มีเพียง 7 คน ที่มีความล่าช้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการประกอบด้วยปัจจัยด้านแม่ ได้แก่ อายุ เมื่อตั้งครรภ์ การศึกษา อาชีพ การฝากครรภ์ การคลอด สำหรับปัจจัยด้านเด็ก ประกอบด้วย อายุครรภ์เมื่อคลอด นํ้าหนักแรกคลอด การได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก ภาวะออกซิเจนที่ 1 และ 5 นาที เด็กที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด และมี โรคประจำตัว
2. เปรียบเทียบพฤติกรรมสังคมของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการประดิษฐ์ของเล่น โดยการประเมินของครู พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .05 ได้แก่ ด้านสัมพันธภาพ คะแนนเฉลี่ยก่อนทำกิจกรรม ( = 6.60, SD = 2.30 และคะแนนเฉลี่ยหลังทำกิจกรรม (
= 8.20, SD = 1.64) และด้านปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนของเด็กปฐมวัย (คะแนนเฉลี่ยก่อนทำกิจกรรม (
= 3.20, SD = 1.79 และคะแนนเฉลี่ยหลังทำกิจกรรม (
= 2.00, SD = 1.00)
Article Details
บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือในวารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (กรณีการทำวิจัยในมนุษย์ ผู้วิจัยต้องผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และนำหลักฐานมาแสดง)
References
Department of Health Ministry of Public Health. (2015). The situation of childhood development in Thailand. Retrieved January 31, 2018, from https://hpc03.files.wordpress.com/2015/09/full-paper-childdev.pdf [In Thai]
Faulkner, D. (1995). Play, self, and social world. In P. Barnes (Ed.), Personal, social and emotional development of children (pp.249-70). Oxford, England: The Open University Press.
Goldstein, J. (2012). Play and technology. In A. D. Pellegrini (Ed.), Oxford handbook of the development of play. Oxford, England: Oxford University Press.
Institute for Population and Social Research, Mahidol University. (2015). The development project in monitoring a physical activity of Thai population 2015. Nakorn Pathom: Author. [In Thai]
Chan-Ame, S. (2000). Child psychology (4th ed.). Bangkok: Thai Wattana Panich. [In Thai]
Santanon. J. (2010). The development of social relations of young children’s drawing with collage picture activities in group. Master’s thesis early childhood education, Srinakharinwirot University. [In Thai]
Keawkungwal, S. (2010). The psychology of life development (9th ed.). Bangkok: Thammasat University Press. [In Thai]
Khemmani, T. (2012). Teaching technique: Knowledge for effective learning process (15th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [In Thai]
McFarland, A. (2011). Growing minds: The relationship between parental attitude about nature and the development of fine and gross motor skills in children. Retrieved January 31, 2018, from https://hdl.handle.net/1969.1/ETD -TAMU-2011-05-9067
Sokampa, A. (2008). Social behavior of preschool children affected by Esop story telling with simulation. Master’s thesis early childhood education. Srinakharinwirot University. [In Thai]
Sukhothaithammatirat Open University. (1989). Document training series for teacher and early childhood caregiver unit 6-10. Nonthaburi: Sukhothaithammatirat Open University Press. [In Thai]
Tantiphlachiva K. (2004). Learning activities for early childhood. Bangkok: Srinakharinwirot University Press. [In Thai]