ผลของเป้าหมายการควบคุม และการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ต่อระดับความเอนเอียงในการตัดสินใจแบบหลีกเลี่ยงการสูญเสียในการตัดสินใจให้ตนเองและผู้อื่น

Main Article Content

อรพรรณ คูเกษมรัตน์
ทิพย์นภา หวนสุริยา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรเป้าหมายการควบคุม และการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ต่อระดับความเอนเอียงในการตัดสินใจแบบหลีกเลี่ยงการสูญเสียในการตัดสินใจให้ตนเองและผู้อื่น เป็นการวิจัยเชิงทดลอง รูปแบบ 2 X 2 X 3 แฟคทอเรียลดีไซน์ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง คือนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 18-24 ปี จำนวน 258 คน (หญิง 68.2%) กลุ่มตัวอย่างถูกจัดเข้ากลุ่มการทดลอง 12 เงื่อนไขอย่างสุ่ม โดยถูกจัดกระทำเป้าหมายการควบคุมแบบป้องกัน หรือส่งเสริม จากนั้นกลุ่มตัวอย่างต้องตัดสินใจเลือกแบ่งเงิน 1,000 บาท เพื่อคงสถานะในด้านต่าง ๆ ของชีวิตทั้งหมด 7 ด้านให้ตนเอง ผู้อื่นที่สนิท และผู้อื่นที่ไม่สนิท กลุ่มตัวอย่างในเงื่อนไขที่มีการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ได้รับคำสั่งให้มีการชี้แจงเหตุผลประกอบการตัดสินใจต่อผู้วิจัยหลังตอบคำถาม ขณะที่กลุ่มที่ไม่มีการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ


ผลการวิจัย พบว่า การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง ไม่พบปฏิสัมพันธ์สามทางของเป้าหมายการควบคุม การชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ และผู้ได้รับผลของการตัดสินใจ จำนวนเงินที่จ่ายเพื่อคงสถานะ ได้รับอิทธิพลจากผลหลักของเป้าหมายการควบคุม และผู้ได้รับผลของการตัดสินใจ และได้รับอิทธิพลจากผลปฏิสัมพันธ์ของเป้าหมายการควบคุมกับการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ และผลปฏิสัมพันธ์ของเป้าหมายการควบคุมกับผู้ได้รับผลของการตัดสินใจ กล่าวคือบุคคลที่ถูกจัดกระทำเป้าหมายการควบคุมแบบป้องกัน มีความเอนเอียงในการตัดสินใจแบบหลีกเลี่ยงการสูญเสียมากกว่า นั่นคือ จ่ายเงินเพื่อคงสถานะมากกว่า บุคคลที่ถูกจัดกระทำเป้าหมายการควบคุมแบบส่งเสริม

Article Details

How to Cite
คูเกษมรัตน์ อ., & หวนสุริยา ท. (2020). ผลของเป้าหมายการควบคุม และการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ต่อระดับความเอนเอียงในการตัดสินใจแบบหลีกเลี่ยงการสูญเสียในการตัดสินใจให้ตนเองและผู้อื่น. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(3), 773–787. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/164130
บท
บทความวิจัย

References

Aron, A., Aron, E. N., & Smollan, D. (1992). Inclusion of other in the self scale and the structure of interpersonal closeness. Journal of Personality & Social Psychology, 63(4), 596-612.

Campos-Vazquez, R. M., & Cuilty, E. (2014). The role of emotions on risk aversion: A prospect theory experiment. Journal of Behavioral and Experimental Economics, 50, 1-9.

Freitas, A. L., & Higgins, E. T. (2002). Enjoying goal-directed action: The role of regulatory fit. Psychological Science, 13(1), 1-6.

Higgins, E. T. (1987). Self-discrepancy: A theory relating self and affect. Psychological Review, 94(3), 319-340.

Higgins, E. T. (1997). Beyond pleasure and pain. American Psychologist, 52(12), 1280-1300.

Higgins, E. T. (1998). Promotion and prevention: Regulatory focus as a motivational principle. In M. P. Zanna (Ed.), Advances in experimental social psychology (Vol. 30, pp. 1-46). Academic Press.

Kahneman, A., Knetsch, A., & Thaler, A. (1991). Anomalies: The endowment effect, loss aversion, and status quo bias. The Journal of Economic Perspectives, 5(1), 193-206.

Kahneman, D., & Tversky, A. (1979) Prospect theory: An analysis of decision under risk. Econometrica Journal of the Econometric Society, 47(2), 263-291.

Kitayama, S., Park, H., Sevincer, A. T., Karasawa, M., & Uskul, A. K. (2009). A cultural task analysis of implicit independence: Comparing North America, Western Europe, and East Asia. Journal of Personality and Social Psychology, 97(2), 236-255.

Lee, A. Y., Aaker, J. L., & Gardner, W. L. (2000). The pleasures and pains of distinct self-construals: The role of interdependence in regulatory focus. Journal of Personality and Social Psychology, 78(6), 1122-1134.

Li, Y. J., Kenrick, D. T., Griskevicius, V., & Neuberg, S. L. (2012). Economic decision biases and fundamental motivations: How mating and self-protection alter loss aversion. Journal of Personality and Social Psychology, 102(3), 550-561.

Liu, H., Wang, L., Yao, M., Yang, H., & Wang, D. (2017). Self-other decision-making differences in loss aversion: A regulatory focus perspective. Journal of Applied Social Psychology, 47(2), 90-98.

Polman, E. (2012). Self–other decision making and loss aversion. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 119(2), 141-150.

Scholer, A. A., Zou, X., Fujita, K., Stroessner, S. J., & Higgins, E. T. (2010). When risk seeking becomes a motivational necessity. Journal of Personality and Social Psychology, 99(2), 215-231.

Senechal, D. (2013). Measure against measure: Responsibility versus accountability in education. Arts Education Policy Review, 114(2), 47-53.

Sun, Q., Wang, P., Liu, H., & Liu, Y. (2017). Discrepancies in risk preference in other-regarding decision making. Social Behavior and Personality: An International Journal, 45(2), 235-241.

Tabachnick, B. G. (2007). Using multivariate statistics (5th ed.). Allyn & Bacon.

Trope, Y., & Liberman, N. (2010). Construal-level theory of psychological distance. Psychological Review, 117(2), 440-463.

Vance, A., Benjamin Lowry, P., & Eggett, D. (2015). Increasing accountability through userinterface design artifacts: A new approach to Addressing the problem of access-policy violations. MIS Quarterly, 39(2), 345-366.

Vieider, F. M. (2009). The effect of accountability on loss aversion. Acta Psychologica, 132(1), 96-101.