ตัวแบบการพัฒนาผู้จัดหาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของประเทศไทย

Main Article Content

พงษ์เทพ ภูเดช
วรพล วังฆนานนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาตัวแบบการพัฒนาผู้จัดหาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของประเทศไทย และนำเสนอกลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน มีรูปแบบการวิจัยแบบผสมเชิงอธิบาย โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณก่อน ด้วยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร และพนักงานระดับหัวหน้างาน ที่ทำงานด้านการจัดซื้อจัดหาในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในประเทศไทย จำนวน 400 แห่ง จากสถานประกอบการ จำนวน 4,133 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการโครงสร้าง แล้วจึงวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่ออธิบายผลจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยการจัดสนทนากลุ่ม


ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ตัวแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี โดยมีค่าไคสแควร์ 168 (df = 85) ค่า p-value 0.051 และ RMSEA 0.027 ปัจจัยด้านการพัฒนาผู้จัดหาวัตถุดิบมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยส่งผ่านปัจจัยด้านความสัมพันธ์ผู้จัดหากับผู้ซื้อ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วยการจัดสนทนากลุ่ม กลยุทธ์ที่นำเสนอแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ (1) การพัฒนาผู้จัดหาจะต้องสร้างความร่วมมือด้านวัตถุดิบ มีการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบที่เข้มงวด และควบคุมต้นทุนวัตถุดิบให้สามารถแข่งขันได้ และ (2) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดหากับผู้ซื้อ จะต้องบูรณาการความร่วมมือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าร่วมกัน

Article Details

How to Cite
ภูเดช พ., & วังฆนานนท์ ว. (2019). ตัวแบบการพัฒนาผู้จัดหาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของประเทศไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 9(3), 646–659. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/181380
บท
บทความวิจัย

References

Ahimbisibwe, A., Muhwezi M., & Nangol S. (2016). Outsourced contracts, buyer-supplier trust, supplier opportunistic behavior and supplier performance in ugandan public procuring and disposing entities (PDEs). Journal of Public Procurement, 12(4), 435-470.

Angsuchoti, S., Wijitwanna S., & Pinyopanuwat, R. (2014). Statistical analysis for social science and behavioral science research: Techniques for using LISREL program (4th ed.). Bangkok: Charoen Dee Mun Kong Printing. [In Thai]

Data Center and Digital Industry, Thailand Textile Institute. (2019). International trade of Thai textile and garment industry in January 2019. Retrieved from https://www.thaitextile.org/th/insign/industrymovement.php#1 [In Thai]

Department of Industrial Works. (2017). Textile and garment industry data at the end of 2017. Bangkok: Author. [In Thai]

Industrial Information Policy and Service Research Department, Thailand Textile Institute. (2017). Bangkok: Author. [In Thai]

Joshi, S., Kharat, M., Raut, R., Kamble, S., & Kamble, S. (2017). To examine the relationships between supplier development practices and supplier-buyer relationship practices from the supplier’s perspective. Benchmarking: An International Journal, 24(5), 1309-1336.

Leenders, M. R. (1966). Supplier development. Journal of Purchasing, 2(4), 47-62.

Sindhuja, P. N. (2014). Impact of information security initiatives on supply chain performance. Information and Computer Security, 22(5), 450-473.

Su, J. (2013). Strategic sourcing in the textile and apparel industry. Industrial Management & Data Systems, 113(1), 23-38.

Yurarach, S. (2016). Writing research reports in social science and humanities. Bangkok: Vision Prepress. [In Thai]