การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในเขตภาคตะวันออกเพื่อรองรับ AEC

Main Article Content

พิพรรธน์ พิเชฐศิรประภา
ชัยฤทธิ์ ทองรอด
นรินทร สมทอง
วัฒนา พิลาจันทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในเขตภาคตะวันออกเพื่อรองรับ AEC และ (2) ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในเขตภาคตะวันออกเพื่อรองรับ AEC


ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน พบว่า เพศที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานแตกต่างกันทั้งในด้านขวัญกำลังใจในการทำงาน ความผูกพันองค์การส่วนอายุระดับการศึกษา แผนกที่ปฏิบัติงาน ระดับรายได้ต่อเดือนอายุการทำงาน และคุณภาพชีวิตในการทำงานที่แตกต่างกัน ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานที่แตกต่างกัน และ (2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน พบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก, ประสิทธิภาพในการทำงานอยู่ในระดับมาก, ส่วนความสัมพันธ์ในภาพรวมของการจัดการทรัพยากรมนุษย์และประสิทธิภาพในการทำงาน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.01 ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า องค์การต้องจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรและแผนงบประมาณขึ้นทุกปีในการรองรับบุคลากรที่ต้องมีการพัฒนาทุกฝ่ายภายในองค์การ ส่วนประสิทธิภาพในการทำงานต้องมีตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่องค์การกำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Armstrong, M. (2006). Performance management (3rd ed.). Thomson-Shore.

Becker, S. W., & Neuhauser, D. (1975). The efficient organization. Elsevier.

Chomkaew, N., Puwitthayathorn, T., & Hathaivaseawongsuksri, N. (2017). Relationship between human resource management, organizational engagement, and staff work efficiency at Suratthani Rajabhat University. Journal of Management Sciences, 4(2), 89-116. [In Thai]

Davis, R. C. (1951). The fundamental of job management. Harper & Brother.

Dessler, G. (2006). A framework for human resource management. Pearson.

Mingjaroenporn, S. (2013). Human resource development and organizational performance of the Government Savings Bank. Academic Services Journal, 24(2), 157-167. [in Thai]

Morse, N. C. (1955). Satisfaction in the white collar job. University of Michigan Press.

Noe, R. A., Hollenbeck, J. R., Gerhart, B., & Wright, P. M. (2008). Human resource management: Gaining a competitive advantage (6th ed.). McGraw-Hill.

Pimchangthong, D., & Suthisanonth, A. (2015). Human resources development in learning for business competition in local area toward knowledge society. Suthiparithat Journal, 29(90), 14-30. [in Thai]

Pholnil, S. (2015). Human resource development and organizational climate influencing teamwork: A case study of department of national parks, wildlife and plant conservation. Master’ thesis in public administration, Silpakorn University. [in Thai]

Serirat, S. (2003). Modern marketing management. Theera Film and Side Text. [in Thai]

Werner, J. M., & Desimone, R. L. (2006). Human resource development (4th ed.). South Western Thomson.