การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน: ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะและประสิทธิภาพการ ทำงานของที่ปรึกษาการเงินในอุตสาหกรรมประกันชีวิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะและประสิทธิภาพการทำงานของที่ปรึกษาการเงินในอุตสาหกรรมประกันชีวิตโดยดำเนินการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อออกแบบกรอบแนวคิด ผู้วิจัยได้ทำการสร้างเครื่องมือการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือการวิจัยโดยการวิเคราะห์ความเที่ยงตรง ด้วยการทดสอบ IOC และการทำ Pre-test โดยการเก็บข้อมูลจากที่ปรึกษาการเงินในอุตสาหกรรมประกันชีวิตจำนวน 30 ตัวอย่าง ผลการพัฒนาเครื่องมือพบว่าเป็นไปตามหลักการวิจัยและมีค่าน่าเชื่อถือของ Cronbach’s alpha มากกว่า 0.8 ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่าง 315 ตัวอย่างจากที่ปรึกษาการเงินในอุตสาหกรรมประกันชีวิตมีตัวแปรสังเกตได้ในแบบจำลองจำนวน 21 ตัวแปรแฝง ดังนั้น ขนาดความเหมาะสมของขนาดตัวอย่างที่สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์การสร้างแบบจำลองสมการโครงสร้าง Structural Equation Modeling (SEM) ที่เหมาะสม คือ 10-20 เท่าเพื่อความเหมาะสมของข้อมูลผู้วิจัยจึงใช้ขนาดของตัวอย่างเป็น 15เท่าของตัวแปรแฝง
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะและประสิทธิภาพของที่ปรึกษาการเงินในอุตสาหกรรมประกันชีวิต ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า (input) ที่เป็นตัวแปรแฝงภายนอกได้แก่ การจัดการปัจจัยขององค์กร การบริหารจัดการความรู้ และการพัฒนาบุคคลากร และมีตัวแปรแฝงภายใน ได้แก่ สมรรถนะ และประสิทธิภาพการทำงานการวิเคราะห์องค์ประกอบเพื่อยืนยัน พบว่าปัจจัยทั้งหมดมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์องค์ประกอบของแต่ละตัวแปรสามารถวัดประเมินตัวแปรได้อย่างเหมาะสม
Article Details
บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือในวารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (กรณีการทำวิจัยในมนุษย์ ผู้วิจัยต้องผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และนำหลักฐานมาแสดง)
References
Ardichvili, A. (2003). Constructing socially situated learning experiences in human resource development: An activity theory perspective. Human Resource Development International, 5(3), 301-325.
Arnauld de Nadaillac. (2003). Definition of competency. Retrieved from http//competency.rmutp.ac.th (14/01/2560)
Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a Unifying Theory of Behavioral Change. Psychological Review, 84(2), 191-215.
Bright, D., & Crockett, A. (2012). Training combined with coaching can make a significant difference in job performance and satisfaction. Coaching: An International Journal of Theory Research and Practice, 5(1), 4-21.
Kim, K. T., Mountain, T. P., Hanna, S. D.., & Kim, N. (2020). The decrease in life insurance ownership: Implications for financial planning. Financial Services Review, 28, 1-16.
McClelland, D. C. (1973). Test for Competency rather than intelligence. American Psychologists. 17(7), 57-83.
Tiwana, A. (2000), The Knowledge Management Toolkit: Practical Techniques for Building a Knowledge Management System. Prentice Hall PTR.
Tung-Ju Wu, Jia-Ying Gao, Lian-Yi Wang and Kuo-Shu Yuan. (2020). Exploring Links between Polychronicity and Job Performance from the Person–Environment Fit Perspective –- Perspective -- The Mediating Role of Well-Being. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(10), 3711.
Von Bertalanffy, L. (1969). General System Theory: Foundations, Development, Applications (Revised Edition). George Braziller.