การพัฒนากฎหมายประกันสังคมสำหรับแรงงานต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย

Main Article Content

เรืองเดช นวสันติ
ณฐ สันตาสว่าง
ภูมิ โชคเหมาะ
ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับกฎหมายประกันสังคม (2) สภาพปัญหาเกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายประกันสังคมของแรงงานต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย (3) วิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายและสิทธิในระบบประกันสังคมของแรงงานต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานโดยชอบด้วยกฎหมายของไทยกับต่างประเทศ และ (4) หาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนากฎหมายประกันสังคมให้ได้รับการคุ้มครองตามหลักประกันสังคม สำหรับแรงงานต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและแปลความหมายจากการเปรียบเทียบ


ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนากฎหมายประกันสังคมสำหรับแรงงานต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย จะต้องแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กำหนดให้มีคำนิยาม “ลูกจ้างแรงงานต่างด้าว” และ “แรงงานต่างด้าวจดทะเบียน” เพื่อความชัดเจนในการตีความ และมีมาตรการทางกฎหมายในการใช้สิทธิประกันสังคมของแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานโดยชอบด้วยกฎหมายในประเทศไทย (กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องมาจากการทำงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ว่างงาน และชราภาพ) รวมทั้งแรงงานต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตทำงานในประเทศไทยโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งเดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิประกันสังคมคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่ลูกจ้างแรงงานจ่ายเงินสมทบครั้งสุดท้าย และกำหนดโทษทางกฎหมายในกรณีนายจ้างที่หลีกเลี่ยงการไม่ขึ้นทะเบียนลูกจ้างหรือไม่นำส่งเงินสบทบประกันสังคมให้หนักขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Loypimai, T. (2009). Social security abroad: The origin of social security. Social Security Journal, 15(5), 18-19. [In Thai]

Ministry of Labour. (2018). Guidelines for the management of foreign workers according to the cabinet resolution on 16 January 2018. Author. [In Thai]

Rights and Liberties Protection Department. (2014). International Convention on the Elimination of all forms of Racial Discrimination (CERD). Author. [In Thai]

Sajjanan, S., Uiyanon, P., Wanaset, A., & Buasawan, P. (2014). Protection of migrant workers in Thailand: A case study of Nonthaburi province. Sukhothai Thammathirat Open University, School of Economics. [In Thai]

Suriya, N. (2012). Handbook of international law for the people. October Printing. [In Thai]

Siripreecha, B. (2009). Convention No. 97 on migration for employment (revised) 1949. Department of Labour Protection and Welfare, Labour Standard Development Bureau. [In Thai]