บทเรียนจากกระบวนการมีส่วนร่วมในการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าภาคใต้

Main Article Content

นลินี หะยีมะ
จำลอง โพธิ์บุญ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าภาคใต้ และเพื่อถอดบทเรียนจากกระบวนการมีส่วนร่วมในการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าภาคใต้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 40 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ร่วมกับการสังเกตการณ์ และการศึกษาเอกสาร โดยวิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบการประเมิน CIPP-I Model



ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมิน (1) ปัจจัยภายนอก นโยบายด้านพลังงานไฟฟ้าตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP2015) ซึ่งมุ่งลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ก่อให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ซึ่งเป็นที่มาของความขัดแย้งของประชาชน ซึ่งมีทั้งสนับสนุนและคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน (2) ปัจจัยนำเข้า กลุ่มผู้มีส่วนร่วมในระยะแรกไม่มีความเข้าใจและไม่ไว้วางใจต่อกระบวนการ หลังจากดำเนินงานผู้มีส่วนร่วมมีความเข้าใจ ไว้วางใจ และให้ความร่วมมือ สำหรับบุคลากรในการดำเนินกระบวนการมีความเหมาะสมและเพียงพอ (3) กระบวนการ ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงข่าวสาร การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับการรับฟังข้อมูลจนถึงระดับร่วมตัดสินใจ ผู้ดำเนินโครงการมีความจริงใจและโปร่งใส กระบวนการมีรูปแบบที่เข้าถึงและมีความครอบคลุมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ (4) ผลผลิต ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ยอมรับกระบวนการมีส่วนร่วมและผลการศึกษา และ (5) ผลกระทบ ช่วยลดความขัดแย้งและมีสัมพันธภาพที่ดีขึ้นระหว่างกลุ่มต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chompunth, C. (2013). Good governance and public participation in decision-making process of development project. Journal of Environmental Management, 9(1), 85-106. [In Thai]

Fuangchoonuch, M., & Chompunth, C. (2017). A Public participation in environmental health impact assessment: A case study of Krabi power plant expansion project. Journal of Community Development Research: Humanities and Social Sciences, 10(2), 174-184. [In Thai]

Kasemsuk, C. (2014). Community development public participation. Chulalongkorn University Press. [In Thai]

Kumcharoen, L., & Eua-Arporn, B. (2012). Public participation in Thailand’s power development plan. Journal of Energy Research Institute, 9(1), 3-4. [In Thai]

Lofland, J., & Lofland, L. H. (1995). Analysis social settings. A guide to qualitative observation and analysis (3rd ed.). Wadsworth.

Ministry of Energy, Energy Policy and Planning Office. (2015). Thailand power development Plan 2015-2036: (PDP2015). Author. [In Thai]

National Institute of Development Administration, NIDA Consulting Center. (2022). Strategic environmental assessment for coal-fired power plant construction sites in the southern region. Author. [In Thai]

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (2008). Spatial environmental potential assessment: Case studies in 5 southern coastal provinces (Surat Thani, Nakhon Si Thammarat, Krabi, Phang Nag, Phuket). Author. [In Thai]

Office of National Economic and Social Development Council. (2021) Guideline for strategic environmental assessment strategy level (revised version). Author. [In Thai]

Phoochinda, W. (2010). Lesson learned from community energy management based on philosophy of sufficiency economy. Journal of Environmental Management, 6(2), 113-132. [In Thai]

Poboon, C. (2017). Environmental assessment. All in One Printing. [In Thai]

Rattananikorncharoen, K. (2018). Evaluation of the environmental impact assessment system in Thailand: A case study of the gold line minor mass transit system. Master’s Thesis of science (Environmental Management), National Institute of Development Administration. [In Thai]

Santiso, C. (2001). Good governance and aid effectiveness: The world bank and conditionality. The Georgetown Public Policy Review, 7(1), 1-22.

Sattapornpan, S., & Chompunth, C. (2019). Environmental conflicts from mega development projects in Thailand: A case study of Krabi coal-fired power plant expansion project. Ph.D. in Social Sciences Journal, 9(3), 716-729. [In Thai]

Therivel, R., & Paridario, M. R. (2004). The practice of strategic environmental assessment. Earthscan.

Uwanno, B., & Bureekul, T. (2005). Participatory democracy. King Prajadhipok’s Institute. [In Thai]