การปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศ ที่มีผลกระทบต่อวิกฤติประมงไทย กรณีศึกษา: มาตรการลงโทษภายใต้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558

Main Article Content

ดลนภา นันทวโรไพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี วิวัฒนาการ เปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องต่อการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กฎ IUU ของความตกลงระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อวิกฤติประมงไทย เพื่อหามาตรการในการกำหนดบทลงโทษที่เหมาะสมและสอดคล้องในการแก้ปัญหาปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กฎ IUU ของความตกลงระหว่างประเทศ ที่มีผลกระทบต่อวิกฤติประมงไทย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บรวบรวมข้อมูล 3 วิธีการ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและแปลความหมายจากการเปรียบเทียบ


ผลการวิจัย พบว่า ภายใต้การปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศไทยต่อการบังคับใช้กฎหมายประมงเรื่องมาตรการลงโทษไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทะเลแห่งสหประชาชาติ ค.ศ. 1982 (UNCLOS) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และเมื่อเปรียบเทียบมาตรการลงโทษของกฎหมายภายในของต่างประเทศที่มีกิจกรรมทางทะเลและบังคับใช้กฎหมายประมงเช่นเดียวกับกฎหมายประมงของประเทศไทย พบว่ามีเรื่องความไม่เหมาะสมตามหลักสัดส่วน ซึ่งปัจจุบันหลักกฎหมายดังกล่าวถือเป็นหลักกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญที่ใช้ตรวจสอบและควบคุมการกระทำทั้งปวงของรัฐที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เป็นไปอย่างพอสมควรแก่เหตุและได้สัดส่วนในการบรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายของรัฐต่อการออกกฎหมายภายในเรื่องมาตรการลงโทษ ภายใต้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ดังนั้น การออกพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 จึงต้องมีการทบทวนบทบัญญัติในเรื่องมาตรการกำหนดโทษอย่างเหมาะสมและไม่เลือกปฏิบัติต่อประมงไทย ในการอนุวัติการกฎหมายภายในที่ต้องยุติธรรมเท่าเทียมอารยประเทศ

Article Details

How to Cite
นันทวโรไพร ด. (2024). การปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศ ที่มีผลกระทบต่อวิกฤติประมงไทย กรณีศึกษา: มาตรการลงโทษภายใต้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 14(2), 471–486. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/265821
บท
บทความวิจัย

References

Agricultural Information Division. (n.d.). IUU Regulations and Thai fisheries. Retrieved from https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20170301102240_file.pdf [In Thai]

Council of the European Union. (2008). Council Regulation (EC) No 1005/2008. Retrieved from http://data.europa.eu/eli/reg/2008/1005/oj

Department of Fisheries. (2015). National Plan of Action to Prevent, Deter and Eliminate Illegal Unreported and Unregulated Fishing 2015-2019 (Thailand NPOA-IUU 2015-2019). Retrieved from https://thaituna.org/home/download/info-fishery/regulation/Jan_31_fishery.pdf [In Thai]

Dixon, M., McCorquodale, R., & Williams, S. (2016). Cases & materials on international law (6th ed.). Oxford University Press.

Ministry of Foreign Affairs, Department of Treaties. (2005). United Nations Convention on the Law of the Sea 1982. Retrieved from https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/20.500.13072/301214/46794.%20pdf?sequence=1 [In Thai]

Saenphit, N. (2019). “Summary of the 20 th anniversary academic seminar of the Institute of Transport and Maritime Law Project on “Is ICAO’s Red Flag on Thailand Ended? At Marut Bunnag Room, Faculty of Law, Thammasat University, Tha Prachan, Tuesday, August 6, 2019, 8:45 a.m. - 12:00 noon.” Journal of Transport and Maritime Law, 14(19), 110-111. [In Thai]

Sirichai-ekawat, V. (2018). Defense of national interests at sea in accordance with the obligations of the United Nations Convention on the Law of the Sea 1982 of Thailand. Julniti Journal, 15(6), 66-70. [In Thai]

Sowcharoensuk, C. (2019). Industrial business trends 2019-2021: Processed seafood industry. Retrieved from https://www.krungsri.com/getmedia/46c4fb72-52a9-4661-9174-0821b3cf0980/IO_Seafood_190725_TH_EX.pdf.aspx [In Thai]

Thongdee., P. (2019). The study of the impact using the measures to solve the problem of Illegal fishing without regulations from (IUU Fishing) that affects local fishing groups in the province of Samut Sakhon. Retrieved from http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2562_1582275479_6114830063.pdf [In Thai]