ปัญหาการวินิจฉัยคดีเลือกตั้งขององค์กรที่ทำหน้าที่วินิจฉัยคดีเลือกตั้งในประเทศไทย

Main Article Content

ปณิชา ชูเชิดปานรังษี
สุขสมัย สุทธิบดี
สุเมธ รอยกุลเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง (2) สภาพปัญหาหรืออุปสรรคเกี่ยวกับการวินิจฉัยชี้ขาดคดีเลือกตั้งและองค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยคดีเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกสมาชิกวุฒิสภา การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นของประเทศไทย (3) เปรียบเทียบองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดคดีเลือกตั้งของไทยกับต่างประเทศ และ (4) นำข้อค้นพบไปสู่การยกร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเลือกตั้งและวิธีพิจารณาคดีเลือกตั้งของประเทศไทย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและแปลความหมายจากการเปรียบเทียบ


ผลการวิจัย พบว่า ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งศาลเลือกตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกสมาชิกวุฒิสภา และการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และควรยกเลิกอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือสั่งระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือผู้สมัครรับเลือกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกสมาชิกวุฒิสภา และการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น โดยให้อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยคดีเลือกตั้งทุกประเภทเป็นอำนาจของศาลเลือกตั้งเพียงศาลเดียว ไม่ว่าความผิดนั้นจะเป็นความรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้งให้มีอำนาจหน้าที่เฉพาะในด้านการบริหารจัดการการเลือกตั้ง และควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

Article Details

How to Cite
ชูเชิดปานรังษี ป., สุทธิบดี ส., & รอยกุลเจริญ ส. (2024). ปัญหาการวินิจฉัยคดีเลือกตั้งขององค์กรที่ทำหน้าที่วินิจฉัยคดีเลือกตั้งในประเทศไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 14(2), 487–501. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/266515
บท
บทความวิจัย

References

Intaraboonsom, P. (2021). Legal measures in proceedings of election-related cases in Thailand. Doctoral Dissertation of Law, Dhurakij Pundit University. [In Thai]

Kongmuang, P. (2007). Principles of public law. Dhurakij Pundit University, Faculty of Law. [In Thai]

Krea-Ngam, W. (1987). Constitutional law (3rd ed.). Niti Bannakarn. [In Thai]

Meewongukos, B. (2013). Constitutional law (7th ed.). Thammasat University, Faculty of Law, Textbook Project and Teaching Documents. [In Thai]

Rakkit Matatratip, J. (2018). Election court procedure: A study of the order for a new election and the revocation of the right to vote for local council members or local executives in the jurisdiction of the Court of Appeal Region 4. Retrieved from https://library.coj.go.th/pdf-view.html?fid=12683&table=files_biblio [In Thai]

Wisarutpitch, W. (1997). Concepts and basic principles in public law: A collection of some articles on administrative law and constitutional law. Nititham. [In Thai]

Wongneam, N. (2013). The role of the Election Committee of Thailand in fostering fairness in election contests. Doctoral Dissertation of Philosophy (Politics), Ramkhamhaeng University. [In Thai]