หลักการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ

Main Article Content

วัชรินทร์ ภาณุรัตน์
ธีรนิติ์ เทพสุเมธานนท์
กุลพล พลวัน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำหลักนิติธรรมและหลักความเป็นอิสระที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์ เพื่อให้การพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการเป็นไปอย่างรวดเร็ว เที่ยงธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง


ผลการวิเคราะห์ พบว่า การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและหลักนิติธรรมเป็นหน้าที่สำคัญของพนักงานอัยการ โดยการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักนิติธรรม มีลักษณะเชื่อมโยงสัมพันธ์กันที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ เพราะการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายมีผลทำให้พนักงานอัยการต้องผูกพันตนต่อกฎหมายทุกลำดับชั้น ส่วนหลักนิติธรรมเองก็มีสาระสำคัญอยู่ที่การปกครองโดยกฎหมายหรือการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดเช่นกัน ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการเป็นไปอย่างรวดเร็ว เที่ยงธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง พนักงานอัยการก็จะต้องมีความเป็นอิสระ ความเป็นกลาง ความเที่ยงธรรม ความเสมอภาค และความโปร่งใสซึ่งสามารถตรวจสอบได้ในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งจะต้องซื่อสัตย์สุจริต ยึดหลักคุณธรรม เมตตาธรรม สันติธรรม และจะต้องใช้อำนาจเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้ โดยหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจตามอำเภอใจ อันเป็นสาระสำคัญของหลักนิติธรรมนั่นเอง ทั้งนี้ เพื่อให้สาธารณชนได้เกิดศรัทธาและความเชื่อมั่นได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและสร้างความสงบสุขให้แก่สังคม

Article Details

How to Cite
ภาณุรัตน์ ว., เทพสุเมธานนท์ ธ., & พลวัน ก. (2024). หลักการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 14(2), 293–304. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/268624
บท
บทความวิชาการ

References

Independent National Rule of Law Commission. (2014). The rule of law (meaning, essence and consequences of violating the rule of law). Office of the Permanent Secretary Ministry of Justice. [In Thai]

International Commission of Jurists. (2007). International principles on the independence and accountability of judges, lawyers and prosecutors–A practitioners guide (2nd ed). Author.

Krea-Ngam, W. (2017). The rule of law in the country’s legal reform plan. Constitutional Court Journal, 23(67), 221-232. [In Thai]

Office of the Secretariat of the House of Representatives. (2019). Purpose and explanation of each article of the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560. Author. [In Thai]

Phollawan, K. (2021). Guarantees to protect the independence of prosecutors. Retrieved from https://www3.ago.go.th/legald/wp-content/uploads/2021/11/05_-Kulapol.pdf [In Thai]

Saensira, W. (2011). The use of discretion in ordering cases and the performance of duties by prosecutors. Julniti, 8(6), 149-155. [In Thai]

Singkaneti, B. (2016). Principles of independence and neutrality in the performance of duties of NHRCT. Office of the National Human Rights Commission of Thailand. [In Thai]

The World Justice Project. (2014). The WJP rule of law index 2014. Author.

Wittayakiatlert, K. (2018). Legal problems regarding the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561 (2018). Doctoral Dissertation of Laws, Ramkhamhaeng University. [In Thai]