การเสริมสร้างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพ่อแม่ที่ลูกเป็นบุคคลพิการ โดยการให้การปรึกษาตามแนวการบำบัดแบบการยอมรับและพันธะสัญญาแบบกลุ่ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการให้การปรึกษาตามแนวการบำบัดแบบการยอมรับและพันธะสัญญาแบบกลุ่มเพื่อเสริมสร้างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพ่อแม่ที่มีลูกเป็นบุคคลพิการ (2) เปรียบเทียบทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพ่อแม่กลุ่มทดลอง ระยะก่อนและหลังการทดลองและระยะติดตามผล และ (3) เปรียบเทียบทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพ่อแม่ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ประชากรที่ใช้คือ พ่อหรือแม่ที่ลูกเป็นนักเรียนของศูนย์การศึกษาพิเศษ ตัวอย่างเป็นพ่อหรือแม่ที่มีค่าเฉลี่ยทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 จำนวน 16 คน ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวนกลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการให้การปรึกษาตามแนวการบำบัดแบบการยอมรับและพันธะสัญญาแบบกลุ่มและแบบวัดทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .919 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่
ผลการวิจัย พบว่า (1) รูปแบบการให้การปรึกษาตามแนวการบำบัดแบบการยอมรับและพันธะสัญญาแบบกลุ่มใช้การบำบัดแบบการยอมรับและพันธะสัญญาเป็นฐานประกอบไปด้วย 8 กระบวนการที่สอดคล้องไปกับ 6 เทคนิคตาม Hexaflex Model (2) การเปรียบเทียบทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพ่อแม่กลุ่มทดลองในระยะหลังและติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) การเปรียบเทียบทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพ่อแม่กลุ่มทดลองในระยะหลังและติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือในวารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (กรณีการทำวิจัยในมนุษย์ ผู้วิจัยต้องผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และนำหลักฐานมาแสดง)
References
Bergman, H. T., Renhorn, E., Berg, B., Lappalainen, P., Ghaderi, A., & Hirvikoski, T. (2023). Acceptance
and commitment therapy group intervention for parents of children with disabilities (Navigator ACT): An open feasibility trial. Journal of Autism and Developmental Disorders, 53(5), 1834-1849.
Corey, G. (2016). Theory and practice of group counseling (9th ed.). Cengage Learning.
Gibson, R. L., & Mitchell, M. H. (2008). Introduction to counselling and guidance. Prentice Hall of India.
Haenjohn, J. (2018). Emotions and stress management (3rd ed.). Gedgood Creation. [In Thai]
Hayes, S. C. (2004). Acceptance and commitment therapy, relational frame theory, and the third wave of behavioral and cognitive therapies. Behavior Therapy, 35(4), 639-665.
Hayes, S. C., Luoma, J. B., Bond, F. W., Masuda, A., & Lillis, J. (2006). Acceptance and commitment
therapy: Model, processes and outcomes. Behaviour Research and Therapy, 44(1), 1-25.
Hayes, S. C., Strosahl, K. D., & Wilson, K. G. (2012). Acceptance and commitment therapy: The process and practice of mindful change (2nd ed.). Guilford.
Jacobs, E., Masson, R. L., & Harvill, R. L. (2009). Group counseling: Strategies and skills (6th ed.).
Cengage Learning.
Luoma, J. B., Hayes, S. C., & Walser, R. D. (2007). Learning ACT: An acceptance & commitment therapy skills-training manual for therapists. New Harbinger.
Luthans, F., Luthans, K. W., & Luthans, B. C. (2004). Positive psychological capital: Beyond human and social capital. Business Horizons, 47(1), 45-50.
Luthans, F., Youssef, C. M., & Avolio, B. J. (2007). Psychological capital: Develpoing the human competitive edge. Oxford University Press.
Neukrug, E. (2021). Contemporary theories in counseling and psychotherapy. Cognella Academic.
Noor, R., Gul, S., & Tahir-Khalily, M. (2017). Psycap as predictor of psychological adjustment among parents of intellectually disabled children. Journal of Applied Environmental and Biological Science, 7(1), 203-206.
Seligman, M. E. P. (1998). Learned optimism. Pocket Books.
Sharif Mohammadi, F., Chorami, M., Sharifi, T., & Ghazanfari, A. (2020). Comparing the effects of group training of mindful parenting skills and psychological capital on stress and psychological flexibility in mothers with blind girl students. International Journal of School Health, 7(3), 31-38.
Srisawat, P. (2018). Group counseling. Danex Intercorporation. [In Thai]
Srisawat, P. (2022). Contemporary counseling theory concepts. In The compilation of guidance concepts and psychological counseling theories course (unit 14, pp. 18-28). Sukhothai Thammathirat Open University. [In Thai]