ปัญหาการนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาปรับใช้กับกรณีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยเทคโนโลยีและการกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษ ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีความรับผิดเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและการเยียวยาความเสียหายโดยนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาปรับใช้ ศึกษาหลักกฎหมายและวิเคราะห์ปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและการเยียวยาความเสียหายโดยนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาปรับใช้ตามหลักกฎหมายของสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องความรับผิดกรณีละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาโดยค่าเสียหายเชิงลงโทษ อันจะเป็นการป้องปรามและคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและเปรียบเทียบ
ผลการวิจัย พบว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ได้บัญญัติคุ้มครองการกระทำละเมิดต่อสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด สิทธิดังกล่าวจะรวมถึงสิทธิส่วนบุคคลด้วยหรือไม่ ยังไม่มีความชัดเจน แต่ได้มีการบัญญัติรับรองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 32 ส่วนการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐหรือเอกชนที่ทำการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามตัว GPS Tracker หรือแอปพลิเคชันติดตามตัวโดยไม่รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการ ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและต้องได้รับหมายศาล สำหรับกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าถึงข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ของผู้ที่ถูกหมายจับ โดยไม่ได้มีการขอหมายศาลเพื่อเข้าตรวจสอบข้อมูลจากบริการที่เก็บข้อมูลดังกล่าวไว้ ถือว่าเป็นการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนแม้จะเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยก็ต้องรับหมายศาล เมื่อไม่ได้รับหมายศาลจึงเป็นละเมิด นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ไม่ได้กำหนดบทบัญญัติให้ศาลสามารถนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาปรับใช้ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนได้กรณีละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ ดังนั้น จึงควรแก้ไขบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โดยกำหนดให้สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดรวมถึงสิทธิส่วนบุคคลด้วย บัญญัติการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่จะทำการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามตัว GPS Tracker หรือแอปพลิเคชันติดตามตัวเพื่อสืบสวนสอบหาพยานหลักฐานจะต้องได้รับอนุญาตจากศาล บัญญัติให้การเข้าถึงข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ของผู้ที่ถูกหมายจับที่เก็บไว้โดยผู้ให้บริการออนไลน์จะต้องได้รับหมายศาลก่อน และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 โดยกำหนดให้ศาลสามารถกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษในกรณีละเมิดสิทธิสิทธิส่วนบุคคลได้ไม่เกินสองเท่า
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือในวารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (กรณีการทำวิจัยในมนุษย์ ผู้วิจัยต้องผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และนำหลักฐานมาแสดง)
References
Pengniti, P. (2002). Explanation of the Civil and Commercial Code on torts: Tort liability of
officials and other related laws (2nd ed.). Institute of Legal Education of the Thai Bar. [In Thai]
Rathamarit, U., Suriya, N., & Singkaneti, B. (2001). Claiming human dignity or exercising personal
rights and freedoms according to Section 28 of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540 (1997). Office of the Constitutional Court. [In Thai]
Singkaneti, B. (2000). Fundamentals of rights, freedoms, and human dignity according to the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540 (1997). Winyuchon. [In Thai]
The United Nations. (2024). Universal declaration of human rights. Retrieved from https://www.un.org/en/about-us/universal-declaration-of-human-rights
Uwanno, B. (2001). Public law volume 1: Philosophical evolution and characteristics of public law in various eras (4th ed). Winyuchon. [In Thai]