งานศิลปกรรมสินไซในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

พิมพ์วลัญช์ พลหงษ์
อาคม เสงี่ยมวิบูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของงานศิลปกรรมสินไซ และบทบาทของรูปแบบงานศิลปกรรมสินไซในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งจะได้เป็นแนวทางในการนำศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้าสู่กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของเมืองขอนแก่นโดยแสดงออกผ่านงานศิลปกรรมในแบบรูปธรรม โดยศึกษาในพื้นที่เขตเทศบาลนครขอนแก่น ชุมชนบ้านสาวะถี และมหาวิทยาลัยขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยใช้แนวคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์การผลิตซํ้าทางวัฒนธรรมและแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของงานศิลปกรรมมาเป็นกรอบในการวิเคราะห์


จากการศึกษา พบว่า จังหวัดขอนแก่นเป็นเมืองที่อยู่ระหว่างการแสวงหาอัตลักษณ์ ได้นำทุนทางวัฒนธรรมที่มีและปรากฏในท้องถิ่นคือ วรรณกรรมสินไซซึ่งเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าครบทุกด้าน และได้ถูกถ่ายทอดเรื่องราวผ่านงานศิลปกรรมรูปแบบจิตรกรรม (ฮูปแต้ม) รอบผนังสิม (โบสถ์) วัดไชยศรี บ้านสาวะถี ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น เป็นหลักฐานที่แสดงว่าคนขอนแก่นมีความผูกพันกับเรื่องราวของสินไซมายาวนานเมื่อนำวรรณกรรมสินไซเข้าสู่กระบวนการประกอบสร้างอัตลักษณ์ โดยการศึกษาหาข้อมูลในเรื่องราวและคุณค่าของสินไซมาเผยแพร่สู่สังคมเมืองและการขยายผลไปสู่สากล ส่งผลให้ปรากฏงานศิลปกรรมสินไซในหลากหลายรูปแบบและเป็นรูปธรรมสู่สายตาประชาชน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจากความสงสัย และเมื่อได้ศึกษาวรรณกรรมสินไซแล้วจะสามารถซึมซับเอาหลักธรรมและแง่คิดจากวรรณกรรมสินไซมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะประติมากรรมเสาไฟฟ้าสีโห สินไซ และหอยสังข์มาประดับตกแต่งในเขตเทศบาลนครขอนแก่นเพื่อการสร้างอัตลักษณ์ของชาวขอนแก่นให้เป็นผู้มีคุณลักษณะตามแบบตัวละครในวรรณกรรมอย่างสินไซนั่นคือ กตัญญู กล้าหาญ ซื่อสัตย์ เสียสละ และพอเพียง ซึ่งเป็นหลักธรรมที่สำคัญในการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติ

Article Details

How to Cite
พลหงษ์ พ., & เสงี่ยมวิบูล อ. (2018). งานศิลปกรรมสินไซในจังหวัดขอนแก่น. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 8(2), 132–148. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/96400
บท
บทความวิจัย

References

Bamrungpak, S., & Krairach, T. (2015). Learning network: The process of creating and using knowledge in Synshai Literature to social development of Khon Kaen People. Khonkaen: Chulalongkorn University, Khon Kaen Campus. [In Thai]

Booncham, A. (2013). Arts and culture of Isaan teaching. Maha Sarakham: Mahasarakham University Press. [In Thai]

Fakao, S. (2010). Maintaining the cultural identity of the Tai Yai Community through transitions in Mae Hong Son Province. Bangkok: Department of Cultural Promotion. [In Thai]

Kitiarsa, P. (2003). Localism. Bangkok: National Research Council of Thailand. [In Thai]

Kitiwatanachot, S. (2014). The reflections of personal identity through writings : A case study of Vikrom Kromadit. Bangkok: Pyramid Printing. [In Thai]

Pimpakan, S. (2010). The revival of literature on the Mekong River: From the opening ceremony of the SEA Games, the 150th anniversary of Vientiane. Thai-Lao Friendship Journal, 17(1), 127-114. [In Thai]

Produangdee, T. (2011). Learning activities in visual art Sinsai Literature by using project approach learning for matthayomsuksa I. Jouranl of Education Graduate Studies Research, 5(1), 200-208. [In Thai]

Royal Academy. (2013). Dictionary of royal academy 2011. Bangkok: Sirivattana. [In Thai]

Srisa-ard, B. (2009). Statistical methods for research Book 1 (7th ed.). Bangkok: Suweeriyasan. [In Thai]

Sudi, P. (2014). HOOP TAM: A reflection of society and culture in the middle northeast. Burapha Arts Journal, 2(1), 44-49. [In Thai]

Techawong R. (2009). Materials and symbols in painting. Khonkaen. Khonkaen University Press. [In Thai]

Wisutthangkun K. (2011). Sinsai: The personification of the philosophical reflection of the utmost importance in buddhism. Master's thesis education, Silpakorn University. [In Thai]