ผลของการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ที่มีต่อความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษาพัฒนาการทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) วิเคราะห์ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 5) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ของโรงเรียนบ้านวังสำราญ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน 25 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 2) แบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ 5) แบบบันทึกภาคสนาม และ 6) แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและการหาค่าคะแนนพัฒนาการ ด้วยวิธีวัดคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ มีค่าความเที่ยงของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เท่ากับ .88 การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษาพัฒนาการทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) วิเคราะห์ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 5) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ของโรงเรียนบ้านวังสำราญ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน 25 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 2) แบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ 5) แบบบันทึกภาคสนาม และ 6) แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและการหาค่าคะแนนพัฒนาการ ด้วยวิธีวัดคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ มีค่าความเที่ยงของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เท่ากับ .88 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (x= 68.53, = 27.20) ตามลำดับ 3) นักเรียนมีคะแนนพัฒนาการทางการเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) x= 56.29 มีพัฒนาการอยู่ในระดับสูง 4) ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) อยู่ในระดับค่อนข้างดี 5) นักเรียนมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียน อยู่ในระดับมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์
Article Details
References
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
2.ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2551). แนวคิดคลาดเคลื่อนของครูวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์. วารสารวิทยาลัย
การฝึกหัดครู, 2(1), 115 – 131.
3.ขวัญฤทัย เที่ยงจันทราทิพย์. (2553). การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อและความ เข้าใจธรรมชาติ
ของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
4.ชาตรี ฝ่ายคำ�ตา. (2552). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(1), 32-45.
5.ชิดชนก เชิงเชาว์. (2556). การวิจัยเบื้องต้นทางการศึกษา. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
6.เบญจพร สาภักดี. (2555). การพัฒนาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นโดยการ
จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสอนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์แบบชัดแจ้งในหน่วย
การเรียนรู้ด้วยสภาพอากาศ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
7.เบญจมาศ ศรีอุดร. (2557). ความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์และการลำเลียงสารผ่านเซลล์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ (5Es) และบ่งชี้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
8.ปริณดา ลิมปานนท์. (2547). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของครู ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9.พันธ์ ทองชุมนุม. (2547). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
10.รอฮานิง เจ๊ะดอเลาะ. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
11.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.) ประกาศและรายงานผลการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา
2557. มปท.
12.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.
13.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ:องค์การค้าคุรุสภา.
14.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
15.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับใหม่ 2545).
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
16.สุดารัตน์ อะหลีแอ. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
17.ฮัซลินดา อัลมะอาริฟีย์. (2551). ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนที่ได้รับ
การจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ประกอบการเขียนแผนผังมโนมติ. วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
18.McComas, W. F., Clough, M. P., & Almazroa, H. (1998). The role and character of the nature of science in
science education. In The nature of science in scienceeducation, 3-39. Springer Netherlands.
19.Nuangchalerm, P. (2013). Engaging nature of science to preservice teachers through inquiry-based
classroom. Journal of Applied Science and Agriculture, 8(3), 200-203.