ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

พัชณี เพชรอาวุธ
สิรินธร สินจินดาวงศ์
วีระ สุภากิจ

Abstract

การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการบริหารสถานศึกษา ภาพลักษณ์สถานศึกษา และการตัดสินใจเข้าศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์สถานศึกษา และการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาสังกัด สอศ. 3) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์สถานศึกษาสังกัด สอศ. ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ 1.ศึกษาปัจจัยการบริหารภาพลักษณ์ และการตัดสินใจศึกษาต่อในสถานศึกษาสายอาชีพ โดยวิเคราะห์เอกสาร 2.ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ และการตัดสินใจศึกษาต่อ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน จำนวน 1,504 คน และผู้ปกครอง จำนวน 1,504 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สหสัมพันธ์ วิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง 3.กำหนดยุทธศาสตร์ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ นำมาวิเคราะห์เนื้อหา 4.ประเมินยุทธศาสตร์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการบริหารสถานศึกษา ภาพลักษณ์สถานศึกษา และการตัดสินใจเข้าศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์สถานศึกษา และการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาสังกัด สอศ. 3) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์สถานศึกษาสังกัด สอศ. ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ 1.ศึกษาปัจจัยการบริหารภาพลักษณ์ และการตัดสินใจศึกษาต่อในสถานศึกษาสายอาชีพ โดยวิเคราะห์เอกสาร 2.ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ และการตัดสินใจศึกษาต่อ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน จำนวน 1,504 คน และผู้ปกครอง จำนวน 1,504 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สหสัมพันธ์ วิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง 3.กำหนดยุทธศาสตร์ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ นำมาวิเคราะห์เนื้อหา 4.ประเมินยุทธศาสตร์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยการบริหารสถานศึกษามี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา วัสดุ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุงการศึกษา ค่าใช้จ่าย การบริหารจัดการ กระบวนการให้บริการ และสถานที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ปัจจัยการพัฒนาภาพลักษณ์สถานศึกษา มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ การยอมรับ ความศรัทธา ไว้วางใจ ปัจจัยการตัดสินใจมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์กรหรือสถาบัน อิทธิพลของกลุ่มอ้างอิง และทัศนคติและความคาดหวัง 2. ปัจจัยการบริหารสถานศึกษามีอิทธิพลทางตรงต่อภาพลักษณ์สถานศึกษา   ส่วนการบริหารสถานศึกษา  และภาพลักษณ์มีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจศึกษาต่อ ทั้งนี้การบริหารสถานศึกษายังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการตัดสินใจศึกษาต่ออีกด้วย ซึ่งภาพลักษณ์ของสถานศึกษา ได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากตัวแปร การบริหารสถานศึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล 0.79 และการตัดสินใจศึกษาต่อในสถานศึกษาอาชีวศึกษา ได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากตัวแปรภาพลักษณ์ของสถานศึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล 0.81 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์สถานศึกษาสังกัด สอศ. ที่สำคัญ คือ “ปฏิรูป” และการ “สร้าง” มีเป้าหมาย 2 ประการ ได้แก่ 1) พัฒนาภาพลักษณ์ของสถานศึกษาสังกัด สอศ. และ 2) เพิ่มการตัดสินใจศึกษาต่อ 4. ผลการประเมินกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เพชรอาวุธ พ., สินจินดาวงศ์ ส., & สุภากิจ ว. (2018). ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(1), 24–35. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/110095
Section
Research Article

References

1.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). การคิดเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.

2.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์. (2557). เร่งแก้ปมคนไม่เรียน ‘อาชีวะ’ ชูปรับทัศนคติพ่อแม่-เพิ่มทุน. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2557, จาก
https://www.thairath.co.th/.

3.ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

4.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ. (2553). แนวทางการพัฒนาการอาชีวศึกษาและเทคโนโลยีของประเทศไทยในทศวรรษหน้า. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 1(1).

5.พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2553). CEO PR&Image: ยุทธพิธีการสร้างภาพลักษณ์ผู้บริหารด้านการจัดการสื่อสารและประชาสัมพันธ์.กรุงเทพฯ: ฐานมีเดียร์เน็ตเวิร์ค.

6.วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

7.วิรัช ลภิรัตนกุล. (2546). การประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

8.ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา. (2557). จำนวนนักเรียนนักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษา. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2557.จาก https://techno.vec.go.th/.

9.สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว. (2557). กลยุทธ์การบริหารการประกันคุณภาพของวิทยาลัยเทคนิคสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

10.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล. (2556). การบรรยายพิเศษของประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง“อาชีวศึกษากับการพัฒนา
ประเทศ” ใน การประชุมผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, เมื่อวันที่ 1-3 เมษายน
2556 ณ โรงแรมอะเดรียติค พาเลซ กรุงเทพฯ: .

11.Astin, A.W. (1993). The College Environment. New York: American Council on Education.

12.Balmer, J. M. T., & Greyser, S. A. (2006). Corporate marketing: Integrating corporate identity,corporate
branding, corporate communications, corporate image and corporate reputation. European
Journal of Marketing, 40(7-8), 730-741.

13.Fishbein,M., & Ajzen,I.. (1975). Belief Attitude Intention and Behavior: An Introduction to theory and
Research. Mass: Addison-Wesley.

14.Helena, A. & Mario, R.(2010). The influence of university image on student behavior. International
Journal of Education Management, 24(1), 73-85.

15.Helgesen, O., Havold, J. I. & Nesset, E. (2010). Impacts of store and chain on the‘‘quality-satisfactionloyalty
process’’ in petrol retailing. Journal of Retailing and Consumer Services, 17(2), 109-118.

16.Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2008). Educational Administration: Theory Research Practice. (8th ed.).
Singapore : McGraw-Hill.

17.Ivy, J. (2008). A new higher education marketing mix the 7P’s for MBA marketing. International
Journal of Education Management, 22(4), 288-299.

18.Kotler, P. & Armstrong, G. (2004). Principles of marketing. (10th ed.). Upper Saddle River, N.J.: Pearson
Prentice Hall.

19.Tai, J. W. C., Wang, C. E. & Huang C. E. (2007). The Correlation between school marketing strategy and the
school image of vocational high schools. National Changhua University of Education, Taiwan.