การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ของการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก 2) ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพจริงขององค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ของการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ตอน ประกอบด้วย ตอน ที่ 1 เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารความเสี่ยง แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาตัวแปรเกี่ยวกับองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารในเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 14 ท่าน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร และครูผู้สอนจำนวน 952 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ทั้งฉบับเท่ากับ .994 วิเคราะห์โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) สกัดปัจจัยเพื่อพิจารณาจัดกลุ่มตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และใช้วิธีการหมุนแกนแบบตั้งฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์ ตอนที่ 2 ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพจริง กับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีหยิบฉลากแบบไม่ใส่คืน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ของการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก 2) ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพจริงขององค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ของการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ตอน ประกอบด้วย ตอน ที่ 1 เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารความเสี่ยง แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาตัวแปรเกี่ยวกับองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารในเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 14 ท่าน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร และครูผู้สอนจำนวน 952 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ทั้งฉบับเท่ากับ .994 วิเคราะห์โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) สกัดปัจจัยเพื่อพิจารณาจัดกลุ่มตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และใช้วิธีการหมุนแกนแบบตั้งฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์ ตอนที่ 2 ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพจริง กับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีหยิบฉลากแบบไม่ใส่คืน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำในการประกันคุณภาพการศึกษา มี 15 ตัวบ่งชี้ 2) กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 13 ตัวบ่งชี้ 3) ครูและบุคลากร มี 13 ตัวบ่งชี้ 4) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มี 11 ตัวบ่งชี้ มี 5) แหล่งเรียนรู้และสารสนเทศ มี 12 ตัวบ่งชี้ มี 6) องค์ประกอบทรัพยากรและงบประมาณ มี 6 ตัวบ่งชี้ และ 7) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามหลักสูตร มี 5 ตัวบ่งชี้ 2. ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีความคิดเห็นต่อตัวบ่งชี้ ทั้ง 75 ตัวบ่งชี้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001
Article Details
References
นราธิวาส. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 22(2), 241-257.
2.กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช
2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
3.กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. 2558-2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
4.กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
5.ณัชณิญา ปัทมทัตตานนท์. (2553). การจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี.
6.ดวงใจ ช่วยตระกูล. (2551). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
7.ธร สุนทรายุทธ. (2550). การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทเนติกุลการพิมพ์ จำกัด.
8.ธร สุนทรายุทธ. (2554). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: บริษัทเนติกุลการพิมพ์ จำกัด.
9.ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: แอล.ที. เพรส จำกัด.
10.เธียรรัตน์ ไชยโรจน์. (2557). การนำเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหาร
การศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11.รัชตา ธรรมเจริญ.(2554). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามยอมนิยม เขตพัฒนาพิเศษ
เฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
12.รุ่งทิพย์ พรหมศิริ. (2549). ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาที่ดำเนินการตามโครงการจัดการเรียน
การสอนเป็นภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญา
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
13.สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2551). ปัจจัยทางการบริหารที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน : การพัฒนา และการตรวจสอบความ
ตรงของตัวแบบ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
14.เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน จำกัด
วี.ที.ซี. คอมมิวนีเคชั่น.
15.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2551). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
16.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). การประชุมปฏิบัติการสรุป
ผลการดำเนินงานตามโครงการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ปี พ.ศ. 2557. อัดสำเนา.
17.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2551). โครงการวางระบบมาตรฐานดำเนินการพัฒนาข้าราชการก่อนปฏิบัติ
ราชการ:รายงานฉบับสมบูรณ์ เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ.
18.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). สถิติการศึกษาฉบับย่อ. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
19.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2554). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอก
รอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดับอุดมศึกษา ฉบับสถานศึกษา พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ.
20.Fenzel, L.M. & O’Brennan,L.M. (2007). Educating- At-Rick Urban Afican Children : The Effects of School
Climate on Motivation and Academic Achievement. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2557, จาก
www.https://eric.ed.gov/?id=ED497443.
21.Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.).
New Jersey: Pearson Education.
22.Hoy, W.K., & Miskel, C.G. (2013). Educational Administration: Theory Research and Practice. (9th ed.).
New York: McGraw-Hill.
23.Mott, P.E. (1972). The Characteristic of Effective Organization. New York : Harper and Row.