เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนกตามการรับรู้ของนักศึกษา อาจารย์ ครูพี่เลี้ยง และผู้ปกครอง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนก ตามการรับรู้ของนักศึกษา อาจารย์ ครูพี่เลี้ยง และผู้ปกครอง สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 180 คน จากวิทยาลัยในสังกัดของสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 4 แห่ง โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กลุ่มแบบกึ่งโครงสร้าง รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนก ตามการรับรู้ของนักศึกษา อาจารย์ ครูพี่เลี้ยง และผู้ปกครอง สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 180 คน จากวิทยาลัยในสังกัดของสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 4 แห่ง โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กลุ่มแบบกึ่งโครงสร้าง รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1. เอกลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนก ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีการรับรู้ต่อเอกลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนก สรุปได้ดังนี้ 1) สถาบันแห่งความมั่นคงของชีวิต 2) สถาบันอันทรงเกียรติ และ 3) สถาบันสุขภาพของวงการสาธารณสุขไทย ทั้งนี้มีประเด็นที่ควรพัฒนาคือ ชื่อของสถาบันที่ไม่บ่งบอกถึงภารกิจหลัก การรับนักศึกษาที่ไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อหลายช่องทางและให้กว้างขวางมีระบบการรับแบบโควตาเป็นการเสียโอกาสในการรับนักศึกษาในพื้นที่ที่มีความต้องการเข้ามาศึกษา ขาดความเป็นมืออาชีพของการตลาดและการประชาสัมพันธ์ 2. อัตลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนกพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีการรับรู้ถึงอัตลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนก ที่เด่นชัดและมีความต่างจากสถาบันการศึกษาอื่นๆ คือ 1) พฤติกรรมที่แสดงออกถึงความมีคุณธรรมจริยธรรมสูง 2) ความโดดเด่นของทักษะด้านการปฏิบัติ และ 3) ความโดดเด่นของการเข้าใจและเข้าถึงชุมชน ดังนั้นควรมีการประชาสัมพันธ์ และการตลาดในเชิงรุก ตลอดจนการเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ให้กับนักศึกษาภายใต้การบูรณากับการสร้างสรรค์การจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่และพัฒนานักศึกษาในด้านต่างๆ บนพื้นฐานของความทันสมัยทางเทคโนโลยีและองค์ความรู้
Article Details
References
ของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 7(3), 59-73.
2.จุรีรัตน์ กิจสมพร และคณะ. (2560). อัตลักษณ์บัณฑิตของสถาบันพระบรมราชชนก. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์
3.ชัยณรงค์ ขันผนึก และชูเกียรติ โพนแก้ว. (2552). การหาอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์โดยการมีส่วนร่วม.
เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
4.สถาบันพระบรมราชชนก. (2554). คู่มือการดำเนินการเพื่อให้เกิดอัตลักษณ์บัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก. นนทบุรี:
ยุทธรินทร์การพิมพ์.
5.สถาบันพระบรมราชชนก. (2558). ประวัติสถาบันพระบรมราชชนก. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2560, จาก http://www.pi.ac.th/group/52.
6.สายสวาท เผ่าพงษ์ และคณะ. (2554). อัตลักษณ์บัณฑิตของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. นครราชสีมา:
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา.
7.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ). (2555). รายงานผลการประเมินคุณภาพ
ภายนอกรอบสาม ระดับอุดมศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรอง
มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
8.Crabtree, B. F. & Miller, W. L. (1992). Doing Qualitative Research. London: SAGE Publications.
9.Lasater, K. (2010). Are We Having An Identity Crisis. Journal of Nursing Education, 49(12), 663-664.
10.Lickona, T. (2004). “Why Character Matters.” Chapter 2 in Character Matters: How to Help Our Children
Develop Good Judgment, Integrity, and Other Essential Virtues. New York: Touchstone.