เปรียบเทียบผลการประเมินพฤติกรรมการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ด้วยตนเองของนักศึกษาก่อนและหลังได้รับการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

Main Article Content

เปรมฤดี ดำรักษ์
ผุสนีย์ แก้วมณีย์
ศุภวรรณ สีแสงแก้ว

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเตรียมทดลอง กลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินพฤติกรรมการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษา ก่อนและหลังได้รับการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา  กลุ่มตัวอย่างศึกษาได้จากกลุ่มประชากร นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3  ปีการศึกษา 2558 จำนวน 60 คน เครื่องมือเป็นแบบประเมินพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชด้วยหัวใจ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเตรียมทดลอง กลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินพฤติกรรมการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษา ก่อนและหลังได้รับการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา  กลุ่มตัวอย่างศึกษาได้จากกลุ่มประชากร นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3  ปีการศึกษา 2558 จำนวน 60 คน เครื่องมือเป็นแบบประเมินพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามการรับรู้ตนเองของนักศึกษา พัฒนาขึ้นโดยสถาบันพระบรมราชชนก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษา การตรวจสอบคุณภาพมีความสอดคล้องกันเชิงโครงสร้างและมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและใช้สถิติที ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษา หลังการฝึกปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการฝึกปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ด้านจิตบริการ ด้านการส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม และด้านการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษา ก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ดำรักษ์ เ., แก้วมณีย์ ผ., & สีแสงแก้ว ศ. (2018). เปรียบเทียบผลการประเมินพฤติกรรมการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ด้วยตนเองของนักศึกษาก่อนและหลังได้รับการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(1), 83–93. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/110101
Section
Research Article

References

1.กิตติพร เนาว์สุวรรณ, เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ และวิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 7(3), 59-73.

2.จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร. (2556).การดูแลอย่างเอื้ออาทร : หัวใจสำ�คัญของการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์. วารสาร
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ, 29(2), 134-141.

3.ทิศนา แขมมณี.(2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4.ดุจเดือน ชินเจริญทรัพย์, สุภาวดี ดิสโร และอานนท์ วิทยานนท์. (2557). ความรู้ ทัศนคติ ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยจิตเวช
ด้านจิตสังคมในนักศึกษาแพทย์กับกิจกรรมเยี่ยมเครือข่ายในชุมชน. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(2),
129-138.

5.ประไพ กิตติบุญวัลย์, จิราภรณ์ ชื่นฉ่ำ�, ผุสดี ก่อเจดีย์ และภูวสิทธิ์ สิงประไพ. (2556). ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาล
อาจารย์นิเทศ และผู้รับบริการต่อการฝึกปฏิบัติการพยาบาลชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง.
วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 6(1), 70-79

6.มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2551). การคิดอย่างเป็นระบบ. โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชนก. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

7.ลิลลี่ ศิริพร,มกราพันธุ์ จูฑะรสก, ศุกร์ใจ เจริญสุข, เฟืองฟ้า นรพัลลภและนิชดา สารถวัลย์แพศย์ (2557). รูปแบบการจัดการ
ศึกษาแบบบูรณาการกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในสังคมพหุวัฒนธรรม
สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(1), 39-54

8.สถาบันพระบรมราชชนก. (2554). คู่มือดำ�เนินการเพื่อให้เกิดอัตลักษณ์บัณฑิต. สถาบันพระบรมราชชนก สำ�นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

9.สุดกัญญา ปานเจริญ และสกุลรัตน์ ศิริกุล. (2553). พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาลในการปฏิบัติ
การพยาบาลในหอผู้ป่วย. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 3(3), 64-74.

10สุณี วงศ์คงคาเทพ. (2550). รายงานวิจัยประเมินผลผู้เรียนกับการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

11.สุทธานันท์ กัลกะ และผกาสรณ์ อุไรวรรณ. (2556). การดูแลผู้ป่วยจิตเวชด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์: การเรียนรู้ตามสภาพจริงในการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 19(2), 159-167.

12.สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์, พิมพิมล วงศ์ไชยา, สิริสุดา เตชะวิเศษ และสมศรี สัจจะสกุลรัตน์. (2559). อัตลักษณ์การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3),
14 – 26.

13.อังคณา วังทอง, อนุชิต วังทอง ,ต่วนฮานาณี วัดเส็น และวันดี สุทธรังสี (2556). มุมมองผู้รับบริการต่อการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ในพื้นที่ต่างวัฒนธรรม บริบทอำ�เภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(3),
35-44.

14.อุษณีย์ เทพวรชัย. (2554). การเรียนการสอนเชิงรุก: การพัฒนาผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์. นครราชสีมา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

15.ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล, เพ็ญศรี ทองเพชร และวาสนา ขอนยาง. (2559). การสอนเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของ
นักศึกษาพยาบาลในการฝึกปฏิบัติ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 233-245.

16.Millier, U., Schmidt, M.C., Angermeyer, D., Chauhan, V., Murthy, M., Toumi, N., & Cadi-Soussi. (2014).
Humanistic burden in schizophrenia : A literature review. Journal of Psychiatric Research, 54, 85-93.

17.Paterson, J. & Zderad L., (2007). Humanistic Nursing. Retrieved December 24, 2015, from
www.humanistic-nursing.com