การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงงานผลิตสายไฟของบริษัท เอส จำกัด ในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
Abstract
งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพทั่วไปของสถานการณ์ทางธุรกิจของบริษัท เอส จำกัด 2) ศึกษากระบวนการผลิตสายไฟและเครื่องจักรที่เหมาะสมสำหรับโครงการ 3) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน และทดสอบความสามารถในการรับความเปลี่ยนแปลงของโครงการ การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารทางวิชาการของแหล่งต่างๆ รวมทั้งเว็บไซต์ ข้อมูลที่ได้ถูกใช้วิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ เครื่องมือด้านการเงินที่ใช้ ได้แก่ ต้นทุนเงินทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายในทั้งก่อนและหลังการปรับค่าแล้ว ดัชนีความสามารถในการทำกำไร และการทดสอบค่าความแปรเปลี่ยน งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพทั่วไปของสถานการณ์ทางธุรกิจของบริษัท เอส จำกัด 2) ศึกษากระบวนการผลิตสายไฟและเครื่องจักรที่เหมาะสมสำหรับโครงการ 3) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน และทดสอบความสามารถในการรับความเปลี่ยนแปลงของโครงการ การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารทางวิชาการของแหล่งต่างๆ รวมทั้งเว็บไซต์ ข้อมูลที่ได้ถูกใช้วิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ เครื่องมือด้านการเงินที่ใช้ ได้แก่ ต้นทุนเงินทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายในทั้งก่อนและหลังการปรับค่าแล้ว ดัชนีความสามารถในการทำกำไร และการทดสอบค่าความแปรเปลี่ยน ผลการศึกษาพบว่า สภาพทั่วไปของบริษัท เอส จำกัด เป็นผู้ผลิตและส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภท กล้องติดรถยนต์ที่มียอดขายเพิ่มขึ้น และเครื่องเสียงติดรถยนต์ที่มียอดขายค่อนข้างคงที่ บริษัทต้องการจะลดต้นทุนค่าสายไฟที่มีการสั่งซื้อจากต่างประเทศด้วยการตั้งโรงงานผลิตเอง ผลการศึกษาทางเทคนิคพบว่า กระบวนการผลิตสายไฟเริ่มจากการหลอม การหล่อ การรีด และการบิดเกลียวให้ลวดทองแดงเป็นมัดเดียวกัน ก่อนนำไปหุ้มฉนวนและตัดสายไฟ จากนั้นนำไปต่อกับตัวเชื่อมต่อของกล้อง และเครื่องเสียงติดรถยนต์ เครื่องจักรที่ใช้ประกอบด้วย เครื่องรีดรุ่น DL400-13 และ SMD205T เครื่องบิดเกลียวรุ่น FC-500B เครื่องหุ้มฉนวนรุ่น GT-70MM และเครื่องตัดและย้ำสายไฟรุ่น ZOKO-066 โครงการตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร บนที่ดิน 19 ไร่ ผลการศึกษาทางการเงินที่อายุโครงการ 21 ปี กรณีไม่ขอรับสิทธิประโยชน์และขอรับสิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน ได้ต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักร้อยละ 9.49 และ 9.57 ตามลำดับ ปรากฏว่าโครงการมีความคุ้มค่าเพราะมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ 260,815,029 และ 268,677,016 บาท อัตราผลตอบแทนภายในร้อยละ 15.45 และ 15.82 อัตราผลตอบแทนภายในที่ปรับค่าแล้วร้อยละ 11.57 และ 11.70 ดัชนีกำไร 1.45 และ 1.47 เท่า ตามลำดับ เมื่อทดสอบค่าความแปรเปลี่ยนพบว่า ผลตอบแทนลดลงได้ร้อยละ 18.38 และ 19.05 และต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 22.52 และ 23.54 ตามลำดับ แสดงว่าโครงการมีความเสี่ยงต่ำ
Article Details
References
โครงการและแผนงาน (Project and Program Analysis). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
2.ดวงใจ จีนานุรักษ์. (2557). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวลจากหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1
อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
3.บริษัท เอส จำกัด. (2560). ข้อมูลบริษัท. ชลบุรี.
4.วรัทยา เหย้าสุวรรณ. (2559). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ในอำเภอทุ่งใหญ่
จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
5.สงกรานต์ สังขรัตน์. (2558). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนระบบการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
บนหลังคา บ้านในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
6.หฤทัย มีนะพันธุ์. (2550). หลักการวิเคราะห์โครงการ: ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ.
กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.
7.International Organization of Motor Vehicle Manufacturers. (n.d.). Sales and Production Statistics.
Retrieved June 9,2017, from http://www.oica.net/category/sales-statistics.
8.Koh A., Ang, S. K., Birgham, E. F. & Ehrhard, M.C. (2014). Financial Management: Theory and Practice,
An Asia Edition. Singapore.