ชุมชนสุขภาวะบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชนและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย: กรณีศึกษาชุมชนท่าเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ชุติมา ทองวชิระ
สุชาดา โทผล
ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์
สมศักดิ์ เจริญพูล
จันทรกานต์ ทรงเดช
ณัฐธิดา กิจเนตร
เมฐินีย์ นุ้ยสุด
สุทัศน์ ด่านตระกูล

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี        เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชน การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมชุมชนสุขภาวะ ศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมชุมชนสุขภาวะบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชนและการมีส่วนร่วม การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี        เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชน การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมชุมชนสุขภาวะ ศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมชุมชนสุขภาวะบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชนและการมีส่วนร่วม
ของภาคีเครือข่าย รวมทั้งสร้างแกนนำกิจกรรมชุมชนสุขภาวะ ในประชากรชุมชนท่าเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามเชิงปริมาณ 7 ด้านโดยเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 400 ชุดและแบบสอบถามเชิงคุณภาพ
ในการสัมมนากลุ่มย่อย แบบบันทึกและแบบสังเกตการดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบกิจกรรมชุมชน สุขภาวะ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ในภาพรวม เท่ากับ 0.85 และนำแบบสอบถามมาหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้านความรู้ จากสูตร 
KR-20 เท่ากับ 0.74 และค่าความเชื่อมั่น ด้านทัศนคติและพฤติกรรม คำนวณค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของครอนบาค เท่ากับ 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติพรรณนา หาความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิง
คุณภาพในการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า 1) ศักยภาพชุมชนและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมชุมชนสุขภาวะ  ประเด็นผู้นำชุมชน ทรัพยากรบุคคล และการสื่อสาร พบว่า ชุมชนเห็นว่าทั้ง 3 ประเด็น เป็นสิ่งสำคัญของศักยภาพของชุมชนอยู่
ในระดับมาก (X =3.95; SD =0.79) ส่วนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย พบว่าประชาชนเห็นว่าตนเองและ/หรือคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมชุมชนสุขภาวะอยู่ในระดับมาก (X= 3.46; SD =1.08) 2) การศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรม
ชุมชนสุขภาวะบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชนและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย พบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมในการสร้างชุมชนสุขภาวะที่ดี ควรมีรูปแบบดังนี้ 1.กิจกรรมมีลักษณะที่ประชาชนสามารถทำด้วยตนเองได้ 2.กิจกรรมที่ทำต้องใช้
เวลาน้อย ไม่เป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพ และ 3.กิจกรรมที่ทำหากต้องมีอุปกรณ์หรือวัตถุดิบต้องสามารถหาได้ง่ายจากชุมชน 3) การสร้างแกนนำกิจกรรมชุมชนสุขภาวะ  พบว่ากระบวนการสร้างแกนนำโดยการอบรมให้ความรู้และการลงมือ
ปฏิบัติจริง ได้แกนนำ 3 กลุ่ม ได้แก่ แกนนำการออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อ แกนนำด้านอาหารสุขภาพ และแกนนำด้านการดูแลรักษาตนเอง

Article Details

How to Cite
ทองวชิระ ช., โทผล ส., เถียรวรกานต์ ณ., เจริญพูล ส., ทรงเดช จ., กิจเนตร ณ., นุ้ยสุด เ., & ด่านตระกูล ส. (2018). ชุมชนสุขภาวะบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชนและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย: กรณีศึกษาชุมชนท่าเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(3), 51–61. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/117908
Section
Research Article