กลยุทธ์ในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักเรียนนายสิบตำรวจในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหาความจำเป็นในการกำหนดองค์ประกอบทางจริยธรรม 2) จัดทำกลยุทธ์ในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และ 3) ประเมินกลยุทธ์ในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ของนักเรียนนาย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหาความจำเป็นในการกำหนดองค์ประกอบทางจริยธรรม 2) จัดทำกลยุทธ์ในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และ 3) ประเมินกลยุทธ์ในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ของนักเรียนนาย
สิบตำรวจ ศึกษาพื้นที่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาหาความจำเป็นในการกำหนดองค์ประกอบทางจริยธรรมที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลมีอายุตั้งแต่
18 ปีขึ้นไป ไม่กำหนดเพศ และมีที่พักอยู่ในบริเวณรอบสถานีตำรวจอำเภอเมืองในรัศมี 1 กิโลเมตรใน 3 จังหวัด ประกอบด้วย 1) จังหวัดลำปาง 2) จังหวัดลำพูน และ 3) จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ
แบบสอบถามคุณลักษณะและความประพฤติทางจริยธรรมของตำรวจ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คนขั้นตอนที่ 2 การจัดทำกลยุทธ์ในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 คน โดยใช้
วิธีสนทนากลุ่มและการประชุมเชิงปฏิบัติการ และขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์โดยใช้วิธีการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คนเครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินกลยุทธ์
ในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบทางจริยธรรมในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักเรียนนายสิบตำรวจที่ประชาชนคาดหวังสูงสุดคือ ด้านความซื่อสัตย์ รองลงมาคือ ด้านความยุติธรรม และด้านการบริการ 2) กลยุทธ์ในการ
พัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักเรียนนายสิบตำรวจที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5 ให้เป็นองค์กรการเรียนรู้คู่จริยธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 2 การขับเคลื่อนการพัฒนาภาวะผู้นำ
เชิงจริยธรรมเชิงบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การตอบสนองยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และ 3) ผลการประเมินพบว่ากลยุทธ์
ในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน